ชื่อบทความ |
ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกิจกรรมทางสังคมกับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี The relationship between social activity and risk of dementia in older persons in community, Nonghan Sub District, Udonthani Province. |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
29 กุมภาพันธ์ 2567 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ (Journal of Nursing Science and Health) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
103-0096 |
ปีที่ |
47 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2567 |
หน้า |
1-15 |
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีกิจกรรมทางสังคมกับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 240 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2566
เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 3) แบบประเมินสมรรถภาพสมอง (The Mental State Examination: MSET-10) ฉบับภาษาไทย 4) แบบประเมินการรับรู้และความเข้าใจ (The Montreal Cognitive Assessment: MoCA) ฉบับภาษาไทย และ 5) แบบสัมภาษณ์การมีกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและกรอบการพัฒนาเครื่องมือวิจัย เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index: CVI) เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.799 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน (The Spearman Rank Correlation Coefficient; rs)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการมีกิจกรรมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.233, p<.001) (2) การมีกิจกรรมทางสังคมประเภทที่ 1, 2 และ 3 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.201, p=<.002; r=0.181, p=0.005; และ r=0.133, p<.040) ตามลำดับ
|
คำสำคัญ |
การมีกิจกรรมทางสังคม ชุมชน ผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อม |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|