2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านกลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาแบบไร้รอยต่อ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 มีนาคม 2567 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (Journal of Science and Science Education: JSSE)  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN ISSN2586-9256 (Print) และ 2697-410X (Online) 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน (มกราคม - มิถุนายน 67)
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ สมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ถูกยอมรับว่าเป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่สำคัญของการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียนอันจะนำผู้เรียนไปสู่การประสบผลสำเร็จในการรู้วิทยาศาสตร์ได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความก้าวหน้าของสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อในบริบทที่เป็นการผสานร่วมระหว่างการเรียนรู้แบบเป็นทางการ (ในชั้นเรียน) และไม่เป็นทางการ (นอกชั้นเรียน) ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนากลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อดังกล่าวและทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 23 คน เป็นระยะเวลา 400 นาที โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยกลวิธีดังกล่าวของนักเรียนโดยใช้แบบวัดวัดการสร้างคำอธิบายวิทยาศาสตร์แบบอัตนัย และแบบสอบถามวัดแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการคำนวณหาค่าความก้าวหน้าทางการเรียนรู้แบบที่เป็น Normalized Gain ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าของสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ครบถ้วนทั้ง 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ คำกล่าวอ้าง ประจักษ์พยาน และการให้เหตุผล และมีความก้าวหน้าในแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ครบถ้วนทั้ง 5 ด้านย่อย ได้แก่ ความจูงใจภายใน การตัดสินใจด้วยตนเอง ประสิทธิภาพของตนเอง ความจูงใจในการทำงาน และความจูงใจในผลการเรียน หลังจากที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ในกลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อของการวิจัยในครั้งนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากลวิธีการจัดการเรียนรู้สะเต็มแบบไร้รอยต่อนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถสร้างความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ในมิติผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นสมรรถนะการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งกลวิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสามารถที่จะเป็นอีกแนวทางใหม่ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียนและเป็นบริบทของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กลวิธีใหม่สำหรับครูผู้สอนในระดับโรงเรียนได้  
     คำสำคัญ การเรียนรู้แบบไร้รอยต่อ สะเต็มศึกษา การสอนฟิสิกส์ แรงจูงใจทางวิทยาศาสตร์ การสร้างคำอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 
ผู้เขียน
625050006-0 น.ส. ขวัญจิรา ชัยมูล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0