2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความล้าของกล้ามเนื้อโดยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของพนักงานในอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Assessment of Muscle Fatigue Based on Electromyography in Electronic Assembly Industrial Workers) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 มีนาคม 2567 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 24 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2567 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความล้าของกล้ามเนื้อโดยใช้คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography: EMG) ในพนักงานกระบวนการพันลวดที่ใช้เครื่องพันลวดกับไม่ใช้เครื่องพันลวดในอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ชนิดรับสัญญาณที่ผิวหนัง (Surface electromyography) ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ (Maximum Voluntary Contraction : MVC) และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ผลการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน หลังส่วนล่าง โดยใช้พารามิเตอร์ค่าการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ (MVC) ค่า %MVC ในพนักงานที่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่านั่ง (หลังส่วนบนซ้าย = 26.44 ขวา = 26.32, หลังส่วนล่างซ้าย = 22.75 ขวา = 22.11) มีค่าน้อยกว่าในพนักงานที่ไม่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่ายืน (หลังส่วนบนซ้าย = 32.92 ขวา = 32.39, หลังส่วนล่างซ้าย = 33.64 ขวา = 31.76) ทั้งนี้อาจเกิดจากงานยืนมีการออกแรงที่มากกว่า และขณะที่พนักงานปฏิบัติงานนั่งมีการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวเป็นเวลานานกว่า และจากการศึกษาความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อโดยตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน หลังส่วนล่าง และไหล่ โดยใช้พารามิเตอร์ Median frequency (MF/Time slope) พบว่าตลอดเวลา 8 ชั่วโมงการทำงาน เมื่อพิจารณาค่าความล้าเฉลี่ยของกล้ามเนื้อที่แบ่งช่วงเวลาการทำงานเช้าและบ่าย ของพนักงานที่ไม่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่ายืน (MF/time slope ในช่วงเช้า: หลังส่วนบนซ้าย =-0.67 ขวา =-1.22 หลังส่วนล่างซ้าย =-0.51 ขวา =-0.61 ไหล่ซ้าย =-0.23 ขวา =-1.47 ในช่วงบ่าย: หลังส่วนบนซ้าย =-0.65 ขวา =-0.81 หลังส่วนล่างซ้าย =-0.50 ขวา =-0.83 ไหล่ซ้าย =-0.84 ขวา =-1.46) และพนักงานที่ใช้เครื่องพันลวดที่ทำงานในลักษณะท่านั่ง (MF/time slope ในช่วงเช้า: หลังส่วนบนซ้าย =0.49 ขวา =0.42 หลังส่วนล่างซ้าย =0.16 ขวา =0.16 ไหล่ซ้าย =-0.06 ขวา =-0.83 ในช่วงบ่าย: หลังส่วนบนซ้าย =-0.45 ขวา =-0.84 หลังส่วนล่างซ้าย =-2.01 ขวา =-2.05 ไหล่ซ้าย =-0.72 ขวา =-1.43) ซึ่งมีค่าความล้าของพนักงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาการทำงาน การศึกษาในครั้งนี้พบว่าพนักงานเกิดความล้ากล้ามเนื้อ ดังนั้น ควรมีการวางแผนเฝ้าระวังสุขภาพต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ รวมถึงจัดทำโปรแกรมการออกกำลังกายหรือกายบริหารก่อนทำงาน ระหว่างทำงาน และหลังทำงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อในพนักงานต่อไป 
     คำสำคัญ การยศาสตร์ ความล้ากล้ามเนื้อ คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ 
ผู้เขียน
645110002-7 น.ส. พรไพลิน ทิศอุ่น [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum