ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
5 มีนาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ The National Conference on Science Technology and Innovation 2024 (NCSTI 2024) Hybrid Conference “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ |
จังหวัด/รัฐ |
บางพลัด กรุงเทพฯ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
5 มีนาคม 2567 |
ถึง |
5 มีนาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2024 |
Issue (เล่มที่) |
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2567 |
หน้าที่พิมพ์ |
1648-1662 |
Editors/edition/publisher |
Editors: รศ.ดร.ณรงค์ สังวาระนที, Publisher by: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร https://ncsti.net/ |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเชื่อมโยงเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสารจอด อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน รูปแบบวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู (สำหรับผู้ช่วยวิจัย) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน (สำหรับผู้ช่วยวิจัย) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ท้ายวงจร แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังสิ้นสุดวงจร แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เฉลี่ย ("X" ̅) เท่ากับ 45.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 5.80 คิดเป็นร้อยละ 76.39 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เฉลี่ย ("X" ̅) เท่ากับ เท่ากับ 23.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.50 คิดเป็นร้อยละ 79.73 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|