2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ประเพณีบุญคูณลาน : กระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 พฤษภาคม 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 14 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ สุรินทร์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 พฤษภาคม 2567 
     ถึง 3 พฤษภาคม 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 14 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1153-1165 
     Editors/edition/publisher อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม บรรณาธิการ  
     บทคัดย่อ จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์ของประเพณีบุญคูณลานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้ข้อมูลที่ได้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่ได้จากประชากรและกลุ่มเป้าหมาย มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ แบบสนทนากลุ่ม จากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างประเพณีประดิษฐ์ของประเพณีบุญคูณลานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แผนผังในการจัดงาน ในปี พ.ศ. 2537 แบ่งออกได้เป็น 6 โซน ในปี พ.ศ. 2540 และ ปี พ.ศ. 2541 และ ปี พ.ศ. 2553 แบ่งออกได้เป็น 5 โซน และในปี พ.ศ. 2567 แบ่งออกได้เป็น 10 โซน แนวคิดในการสร้างสร้างสรรค์ประเพณีบุญคูณลาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2537 หลังจากที่รัฐมีอุดมการณ์ที่มุ่งสู่การขับเขื่อนเศรษฐกิจจากนั้นได้มีการหยิบยกเอาประเพณีบุญคูณลานมาพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความแตกต่างและแปลกใหม่ไปจากพื้นที่อื่น เพื่อเป็นการสร้างจุดสนใจและดึงดูดผู้คนให้เกิดความเพลิดเพลินที่ได้มาท่องเที่ยวและสัมผัสผลงานสร้างสรรค์ทางภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สะท้อนผ่านความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อยู่ในประเพณีบุญคูณลาน โดยได้มีสร้างปราสาทรวงข้าวทรงเศวตฉัตร หรือ ฉัตร 9 ชั้น ในปี พ.ศ. 2540 มีการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงระฆังคว่ำ ในปี พ.ศ. 2541 มีการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงจตุรมุข ในปี พ.ศ. 2553 มีการสร้างปราสาทรวงทรงพระธาตุพนม และ ในปี พ.ศ. 2567 มีการเปลี่ยนรูปแบบของพิธีเปิดงานให้อยู่ในช่วงกลางคืน อีกทั้งยังมีการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงจตุรมุข ทั้งนี้รูปแบบของปราสาทรวงข้าวในแต่ละช่วงเวลาดังที่ได้กล่าวไปนั้นมีสาเหตุที่มาจากการนำเสนอเพื่อให้เกิดความน่าสนใจในการสร้างภาพจำใหม่ที่ผ่านการสอดแทรกความรู้และความเชื่อในพิธีกรรมที่ปรากฎในประเพณีบุญคูณลานมาใช้เป็นจุดเด่นในการสร้างสร้างสรรค์ โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชล และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวและในการขับเคลื่อน ตลอดจนการผลักดันไปสู่อุตสาหกรรมทางด้านการท่องเที่ยวที่จะก่อให้เกิดการสร้างรายได้และเศรษฐกิจในชุมชนที่ดียิ่งขึ้น  
ผู้เขียน
655220003-3 นาย ณัฐวุฒิ ยุบลพันธุ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum