2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเชื่อในพิธีกรรมเหยากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สู่การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 พฤษภาคม 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 14 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ สุรินทร์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 พฤษภาคม 2567 
     ถึง 3 พฤษภาคม 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 14 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1139-1152 
     Editors/edition/publisher อาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม บรรณาธิการ 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมเหยากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สู่การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น โดยใช้กระบวนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการรวมรวมข้อมูลจากเอกสารและการสำรวจจากภาคสนาม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาวิเคราะห์ตามแนวคิดโครงสร้างแบบ 3 องค์ (Act Structure) และนำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ความเชื่อในพิธีกรรมเหยากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เกิดจากกลุ่มชาติพันธุ์โส้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่จังหวัดสกลนคร พบชาวโส้ที่อาศัยอยู่ที่อำเภอกุสุมาลย์เยอะที่สุดในจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการนับถือผีผสมผสานกับพระพุทธศาสนาเห็นได้จากพิธีกรรมของชาวโส้ อำเภอกุสุมาลย์ ชาวไทโส้แต่เดิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แถบลุ่มน้ำโขงทำให้มีความเชื่อสัมพันธ์กับผี เนื่องจากชาวไทโส้มีการนับถือผีก่อนที่จะนับถือพระพุทธศาสนา จึงปรากฏพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับผี ชาวโส้จึงมีพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงผีควบคู่กับการนับถือพุทธศาสนา โดยสิ่งที่แสดงออกด้านวัฒนธรรมได้ชัดเจนที่สุดคือพิธีกรรมเหยา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการรักษา เรียกขวัญ บนบานและความเป็นความตาย ส่วนของการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นได้ทำการผลิตภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในพิธีกรรมเหยาโดยใช้เทคนิคด้านการผลิตภาพยนตร์ที่มี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1.ขั้นตอนการเตรียมงานผลิต 2.ขั้นตอนการผลิต 3.ขั้นตอนหลังการผลิต โดยในการสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของหมอเหยาหรือแม่แก้ว ผ่านวิถีชีวิตของคนในชุมชน พิธีกรรม ความเชื่อความศรัทธาและความรัก โดยเปิดมุมมองของยุคปัจจุบันที่คนในสมัยนี้ไม่มีขอบเขตทางด้านเพศ เล่าเรื่องราวผ่านความรักและพิธีกรรม ซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความเชื่อของพิธีกรรมเหยา การรักษาโรค และความตาย ถ่ายทอดภาพยนตร์สั้นผ่านกระบวนการทางความเชื่อในพิธีกรรม คำสำคัญ (Keywords) : ความเชื่อ, พิธีกรรมเหยา, กลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้, ภาพยนตร์สั้น  
ผู้เขียน
655220016-4 นาย อดิสรณ์ อันสงคราม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลชนะเลิศบทความดีเด่น "กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" รูปแบบการนำสนอโปสเตอร์ 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านศิลปะและวัฒนธรรม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 3 พฤษภาคม 2567 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum