ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การสำรวจการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
31 ตุลาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
โครงการการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 (แบบออนไลน์) “รัฐ ศาสนา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม สังคม : ปราชญ์ราชันย์ พระจอมเกล้า” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย |
สถานที่จัดประชุม |
ออนไลน์ (Zoom Meeting) |
จังหวัด/รัฐ |
|
ช่วงวันที่จัดประชุม |
31 ตุลาคม 2567 |
ถึง |
31 ตุลาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
3 |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
- |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ในฐานะวิธีการสอนภายใต้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนามและแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Toulmin, S. E. (1958, 2003)
ผลการวิจัยพบว่า การโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเกิดขึ้นทั้งหมด 18 ครั้ง โดยแนวคิดของนักเรียนที่จำแนกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นต้องมีของการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ มีลักษณะดังนี้ 1) ข้อมูล เป็นแนวคิดของนักเรียนที่มาจากความรู้เดิมของนักเรียนหรือจากสิ่งที่นักเรียนสังเกตได้ในชีวิตจริงของนักเรียน 2) ข้อยืนยัน เป็นแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาศัยประสบการณ์ร่วมของนักเรียนและสมาชิกในชั้นเรียน และ 3) ข้อกล่าวอ้าง เป็นแนวคิดของนักเรียนที่เป็นหลักการสำคัญที่นักเรียนจะนำไปใช้ในการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหา และองค์ประกอบเพิ่มเติมที่ทำให้การโต้แย้งสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีลักษณะดังนี้ 1) ข้อสนับสนุน เป็นแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอเมื่อเห็นว่าข้อยืนยันไม่มีน้ำหนักมากพอและนักเรียนมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นจึงนำมาใช้สนับสนุนเพิ่มเติม 2) ข้อขัดแย้ง เป็นแนวคิดของนักเรียนที่ใช้การปฏิเสธที่เป็นข้อยกเว้นว่าข้อกล่าวอ้างนั้นจะไม่เป็นจริงเมื่อข้อกล่าวอ้างนั้นมีลักษณะตามแนวคิดนี้เท่านั้น และ 3) ข้อขยาย เป็นแนวคิดของนักเรียนที่นำเสนอเพื่อเพิ่มความหนักแน่นให้กับข้อกล่าวอ้างนั้น |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|