2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม 
Date of Distribution 29 November 2024 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 19 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรื่อง ผลงานการวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 
     Organiser มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     Conference Place มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ 
     Province/State  
     Conference Date 29 October 2024 
     To 29 October 2024 
Proceeding Paper
     Volume 2567 
     Issue 19 
     Page 893-903 
     Editors/edition/publisher ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม/โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     Abstract เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมมักมีข้อจำกัดในการรับรู้ทางภาษา การสื่อความหมายและการแสดงออกทางภาษาที่มีพัฒนาการทางภาษาด้านการพูดล่าช้า มีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น การวิจัยนี้จึงได้ศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษาในการส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมก่อนและหลังการการใช้แอปพลิเคชันเกมทางภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกจากผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมที่ได้รับการวินิฉัยทางการแพทย์ว่ามีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จำนวน 5 คน อายุระหว่าง 5 – 9 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันเกมทางภาษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) คู่มือการใช้งานแอปพลิเคชันเกมทางภาษา 4) แบบประเมินทักษะทางภาษา 5) แบบสังเกตพฤติกรรม ในการทำกิจกรรมการพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือ 1)ค่าเฉลี่ย 2)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 3) การเปรียบเทียบผลการใช้แอปพลิเคชันด้วยสถิติเปรียบเทียบ The Wilcoxon Rank Sum Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันเกมทางภาษาในการส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยให้ระดับคุณภาพของความสอดคล้องของเนื้อหาและความเหมาะสมของเครื่องมือ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.50–1.00 แสดงให้เห็นว่าคุณภาพเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือและมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการการเปรียบเทียบความสามรถทักษะทางภาษาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลังการการใช้แอปพลิเคชันเกมทางภาษา ได้คะแนนรวม ก่อนการทดลอง 56 คะแนน (x ̅=18.67,S.D= 3.28) และหลังการทดลองได้ 241 คะแนน (x ̅=80.67, S.D= 0.55) สรุปได้ว่า หลังการใช้แอปพลิเคชันเกมทางภาษาในการส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมสูงกว่าก่อนการใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิที่ระดับ .01 
Author
635050189-7 Miss MISSNARINTHON PHETCHARAT [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum