ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การวิเคราะห์กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ กรณีศึกษานโยบายสมรสเท่าเทียม |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
12 ธันวาคม 2567 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
The First International Conference on Public Affairs |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
12 ธันวาคม 2567 |
ถึง |
13 ธันวาคม 2567 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
1 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
236-243 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ หนึ่งในนั้นคือสิทธิการสร้างความครัวและการสมรส โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับสิทธิการสมรสของผู้มีความหลากหลายเพศ งานวิจัยนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะกรณีสมรสเท่าเทียม งานวิจัยนี้
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาแนวคิด รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ เอกสารทางราชการ รวมทั้งศึกษาจากสื่อ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า เมื่อมองกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ กรณีสมรสเท่าเทียม ผ่านตัวแบบพหุกระแส (Multiple Streams Model) ของ Kingdon ที่เกี่ยวข้องกับ
3 กระแส ได้แก่ 1) กระแสปัญหา ประกอบด้วย ตัวชี้วัดปัญหา เช่น ประชาชนร่วมลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียมกว่าสามแสนรายชื่อ เหตุการณ์ที่มุ่งให้ความสนใจ เช่น ผู้มีความหลากหลาย
ทางเพศต้องการเข้าจดทะเบียนสมรสและได้รับสิทธิเช่นเดียวกับการสมรสของบุคคลต่างเพศ
และผลสะท้อนกลับ คือ การร้องเรียนหน่วยงานและศาลรัฐธรรมนูญกรณีเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ 2) กระแสนโยบาย ประชาชนและนักวิชาการมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
เช่น การเสวนา ม็อบ ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจและยอมรับในคุณค่า และความเป็นไปได้ทางเทคนิค
คือ มีกลไกให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายเข้าสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนหลายพรรคการเมืองนำประเด็นสมรสเท่าเทียมมาเป็นนโยบาย และ 3) กระแสการเมือง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพรรครัฐบาลในช่วงปี 2566 เมื่อทั้ง 3 กระแส มาบรรจบกันในเวลาที่เหมาะสม โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการนโยบายที่สำคัญคือ กลุ่มภาคีสีรุ้งเพื่อการสมรสเท่าเทียม ทำให้หน้าต่างนโยบายเปิดขึ้น
จนนำไปสู่วาระการตัดสินใจ คือเกิดพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
คำสำคัญ: สมรสเท่าเทียม, ความหลากหลายทางเพศ, LGBTQ+
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
นานาชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|