2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพและคุณสมบัติทางเคมีของดินในพื้นที่ดินเค็มภายหลังการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิด 2 ปี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 พฤษภาคม 2554 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทสไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 11 พฤษภาคม 2554 
     ถึง 12 พฤษภาคม 2554 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 597 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพร่วมกับคุณสมบัติทางเคมีของพื้นที่ดินเค็มภายหลังมีการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิด 2 ปี โดยท้าการศึกษาบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้้าเอกกษัตริย์สุนทร อ้าเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2552-2553 บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 โซน ตามลักษณะสังคมพืชและความลาดเอียงของพื้นที่ โดยโซนที่ 1 พื้นที่ติดอ่างเก็บน้้ามีความเค็มเท่ากับ 2.2 dS/m โซนที่ 2 มีความเค็มเท่ากับ 0.014 dS/m และโซนที่ 3 มีความเค็มเท่ากับ 0.013 dS/m และท้าการศึกษาบริเวณต้นมะขามเทศและสนทะเล จากการศึกษาคุณสมบัติดินพบว่าเมื่อท้าการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิดบนพื้นที่ดินเค็ม ค่าการน้าไฟฟ้า และ ค่าปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ มีค่าที่ลดมีค่าที่ลดลงในบริเวณต้นสนทะเลมากที่สุดรองลงมาเป็นต้นมะขามเทศและพื้นที่ว่างตามล้าดับ ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคทไออ้อน มีค่าที่เพิ่มขึ้นในบริเวณต้นสนทะเลมากที่สุดรองลงมาเป็นต้นมะขามเทศและพื้นที่ว่างตามล้าดับ อัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุระหว่างมะขามเทศและสนทะเล พบว่าสนทะเล มีอัตราการย่อยสลายที่สูงกว่ามะขามเทศ และการย่อยสลายในโซนที่ 2 สูงที่สุด รองลงมาคือ โซนที่ 3 และโซนที่ 1 ตามล้าดับ สัมพันธ์กับอัตราการหายใจของจุลินทรีย์ดินที่มีค่าเพิ่มขึ้นในทุกโซน และมีอัตราสูงในโซนที่ 2 และโซนที่ 3 ในขณะที่ระดับน้้าใต้ดินของพื้นที่ศึกษามีการลดระดับลงในปี 2010 เมื่อเปรียบเทียบกับระดับน้้าใต้ดินในปี 2009 และค่าปริมาณโซเดียมในน้้าใต้ดิน (mg/L) มีค่าที่เพิ่มขึ้นในปี 2010 
ผู้เขียน
525030040-2 น.ส. ธารารัตน์ ตุราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0