2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การผลิตโพลีโคลนอลแอนติซีรัมที่จำเพาะต่อ Streptomyces-PR15 และการใช้ตรวจติดตามเชื้อรอบผิวรากต้นกล้าพริก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 มกราคม 2556 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 14 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 มกราคม 2556 
     ถึง 29 มกราคม 2556 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 41 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ1 
     หน้าที่พิมพ์ 220-225 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร 
     บทคัดย่อ เชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตมัยซีส-PR15 (Streptomyces -PR15) เป็นแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีฤทธิ์กว้าง ใช้ควบคุมทั้งเชื้อรา และแบคทีเรียสาเหตุโรคที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเทคนิค ELISA สำหรับใช้ตรวจติดตามเชื้อ Strepto¬myces -PR15 ในชีวภัณฑ์ และในสภาพแวดล้อมรอบต้นพืช จึงได้ผลิตแอนติบอดีที่จำเพาะกับเชื้อ Streptomyces-PR15 โดยการฉีดแอนติเจนที่เตรียมจากเซลล์เชื้อ Streptomyces -PR15 ที่ทำให้เซลล์แตกด้วย ultrasonicator นำไปผสมกับ Freund’s incomplete adjuvant ในอัตราส่วน1:1 (ปริมาตรต่อปริมาตร) ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อขาหลังของกระต่ายสีขาวพันธุ์นิวซีแลนด์ ไวท์ จำนวน 3 ครั้ง จากนั้นฉีดเฉพาะแอนติเจนเข้าเส้นเลือดกลางใบหู 2 ครั้ง เก็บเลือด จำนวน 8 ครั้ง หลังจากเก็บเลือดครั้งที่ 8 แล้วจึงฉีดกระตุ้นซ􀄬้ำด้วยแอนติเจน เข้าบริเวณเส้นเลือดกลางใบหู 1 ครั้ง หลังจากนั้น 10 วัน จึงเก็บเลือด 2 ครั้ง พบว่าแอนติซีรัมที่ผลิตได้ มีค่า titer สูงสุดเป็น 1:200,000 ในสัปดาห์ที่ 7 และ 10 มีความไวในการตรวจหาโปรตีนจากเซลล์เชื้อ Streptomyces -PR15 ที่ระดับ 0.312 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อปฏิปักษ์ Streptomyces-PR13, Streptomyces-PR22,Streptomyces-PR33, Bacillus spp., แบคทีเรียจากผิวใบพืช เแบคทีเรียแยกจากดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช แต่มีความสัมพันธ์ทางเซรุ่มวิทยาปานกลางกับเชื้อ Streptomyces ปฏิปักษ์ 3 ไอโซเลต (PR87, PR84 และ PR78) เมื่อนำไปตรวจหาเชื้อ Streptomyces-PR15 บริเวณผิวรากของต้นกล้าพริก พบว่าสามารถตรวจพบเชื้อ Streptomyces-PR15 ได้ที่ระดับ 104 cfu/ml 
ผู้เขียน
545030018-7 นาย วีรกรณ์ แสงไสย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0