2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่5 หัวข้อ “กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดสำหรับคนรุ่นใหม่” (Library Strategies for New Generation) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออร์คิด 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 กุมภาพันธ์ 2558 
     ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) none 
     Issue (เล่มที่) none 
     หน้าที่พิมพ์ 50-55 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรจากพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและจากการ เปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของสถาบันต้นสังกัดส่งผลให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง การทราบสภาพปัจจุบันขององค์กรจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงให้สอดคลัองกับบริบทขององค์กรตนเองได้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยจากเอกสาร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยจากดุษฎีนิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จัดทำระหว่างปีพ.ศ. 2552 – 2555 จำนวน 9 ฉบับ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้โมเดลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรของ Bryson (1999) พบว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยมีประสิทธิภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านเป้าหมายและคุณค่าขององค์กร และกระบวนการทำงานภายในห้องสมุดที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ วิธีการทำงาน และคนในกระบวนการทำงานเพื่อขับเคลื่อนสารสนเทศให้บรรลุผลตามเป้าหมาย แต่ต้องพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลากรให้สอดคล้องกับงานห้องสมุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป และยังต้องพัฒนาองค์กรในด้านระบบการบริหารจัดการห้องสมุด ระบบโครงสร้างองค์กรห้องสมุด และกระบวนการทางสังคมจิตวิทยาใน ห้องสมุด คำสำคัญ หองสมุดในประเทศไทย, หองสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ, การเปลี่ยนแปลงหองสมุด 
ผู้เขียน
547080013-1 น.ส. รัชนีกรณ์ อินเล็ก [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0