2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ Mon Diasporas in Thailand and the Concepts of "Home" 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2557 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 10 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์  
     สถานที่จัดประชุม คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 พฤศจิกายน 2557 
     ถึง 21 พฤศจิกายน 2557 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2557 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 94 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายเงื่อนไขอันนำไปสู่การให้ความหมายคำว่า “บ้าน” ของชาวมอญในเมืองไทย โดยใช้มโนทัศน์เรื่อง “บ้าน” ของคนพลัดถิ่นเป็นกรอบในการศึกษา จากการศึกษาพบว่าชาวมอญในเมืองไทยทั้ง 3 กลุ่ม คือ ชาวไทยเชื้อสายมอญที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวมอญพลัดถิ่นที่อพยพมาอยู่อาศัยในประเทศไทย เนื่องจากนโยบายปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และแรงงานข้ามชาติชาวมอญ แม้มีสถานภาพทางกฎหมายที่แตกต่างกัน แต่คนเหล่านี้คือ “ผู้พลัดถิ่น” ที่มาจากประเทศพม่าเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมาย คำว่า “บ้าน” ของชาวมอญเหล่านี้แตกต่างกัน กล่าวคือ ชาวไทยเชื้อสายมอญให้ความหมายว่า “บ้าน” คือ ถิ่นฐานที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ในขณะที่แรงงานข้ามชาติชาวมอญ กล่าวถึงบ้านในประเทศพม่า ส่วนชาวมอญพลัดถิ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอันเนื่องมาจากการปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า นิยามความหมายคำว่า “บ้าน” แตกต่างกันไปตามช่วงอายุและประสบการณ์ในระดับปัจเจก กล่าวคือ ชาวมอญพลัดถิ่นในรุ่นที่ 1 ให้ความหมายคำว่า “บ้าน” คือ ถิ่นฐานเดิมในประเทศพม่าที่เป็นบ้านเกิด ขณะที่ “บ้าน” ในความหมายของชาวมอญพลัดถิ่นรุ่นที่ 2 ถึงรุ่นที่ 4 หมายถึง “บ้าน” ที่อยู่ในประเทศไทย บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าการนิยามความหมายคำว่า “บ้าน” เป็น “การประกอบสร้าง” ซึ่งเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมและช่วงเวลาการอพยพ Abstract This article aims to explain meanings of “home” given by Mon living in Thailand. It employs the concept of “home” of diaspora as the analytical framework. The study indicates that there are 3 groups of Mon in Thailand: Thai-Mon people living in Thailand since Ayutthaya era, Mon diasporas coming to Thailand as a result of ethnicity suppression policies in Myanmar and Mon migrant workers. Thought these three groups have different legal status, they are “diasporas” from Myanmar. Nevertheless, the definition of “home” among these three groups is different. Thai-Mon people refer to places they live in Thailand as their “home.” Mon migrant workers speak of their homeland as their “home.” “Home” according to Mon diasporas is varied depending on generation and individual’s experience. The first generation defines their home land as their “home.” For the second to fourth generations their “home” refers to places they live in Thailand. This paper shows that the definitions of “home” are constructed and such definitions relate to their social contexts as well as migration periods. Key Words: “Home” concept, Mon ethnic, Diaspora  
ผู้เขียน
565080004-0 น.ส. ภควดี ทองชมภูนุช [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0