2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title สุสานทหารสัมพันธมิตร และพิพิธภัณฑ์สงคราม การเมืองของความทรงจำ ยุคสงครามครามโลกครั้งที่ 2 The War Cemetery and the War Museum Politics of Memory of the World War II  
Date of Distribution 28 November 2015 
Conference
     Title of the Conference The 11th International Conference on Humanities & Social Sciences 2015 
     Organiser คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 26 November 2015 
     To 27 November 2015 
Proceeding Paper
     Volume 2015 
     Issue 11 
     Page 105 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายเงื่อนไขที่อยู่เบื้องหลังชุดความทรงจำจากยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถูกนำเสนอผ่านพิพิธภัณฑ์สงคราม และคำไว้อาลัยบนหลุมฝังศพในสุสานทหารสัมพันธมิตร ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี การวิเคราะห์ความทรงจำเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง พบว่า การปรากฏตัวของชุดความทรงจำ นำเสนอภาพการตกเป็น “เหยื่อ” ของผู้ชนะสงคราม คือทหารฝ่ายสัมพันธมิตรโดยกล่าวถึงความทุกข์ทรมานของเชลยศึกสัมพันธมิตรระหว่างการสร้างทางรถไฟสู่ประเทศพม่า ความโหดร้ายของกองทัพทหารญี่ปุ่น และความโหดร้ายของสงครามที่ทำให้สูญเสียชีวิตผู้คน เป็นแกนหลักของเรื่องเล่า ซึ่งถูกผลิตซ้ำจนเป็นชุดความทรงจำหลักของสังคม การก่อตัวของชุดความทรงจำดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้ปรากฏขึ้นอย่างเลื่อนลอย แต่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาบริบททางประวัติศาสตร์ และเชื่อมโยงกับอำนาจในการประกอบสร้างความทรงจำ และอำนาจที่เกี่ยวกับการควบคุมปกครอง หรือการสูญเสียการปกครองประเทศอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตก เงื่อนไขเหล่านี้ต่างอยู่เบื้องหลังชุดความทรงจำ ที่ผู้ชนะสงครามเลือกสรรและกำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ให้สังคมควรจดจำ ในแง่นี้ ความทรงจำเป็นเรื่องของ “การเมือง” คำสำคัญ: สงครามโลกครั้งที่สอง การเมืองของความทรงจำ พิพิธภัณฑ์สงคราม สุสานทหารสัมพันธมิตร Abstract This article aims to explain the conditions behind the sets of memories about the World War II presented through the war cemetery and the War museum in Kanchanaburi province. The analysis reveals the manifestation of the war winners – allies’ soldiers – as “victims”. The suffering of allies’ prisoners who were forced to build the railway to Myanmar, the strict control and viciousness of Japanese militaries, and the maliciousness of the War are the major themes of stories presented in the museum and cemetery. Such themes were (re)produced and become the dominant collective memories about the World War II. The formation of such memories is not detached from their context. Rather, they related to the dimension of time, history, and power – both power for the construction of memory and power to control and rule or lost control the colonial countries by the Western empire. These are conditions behind a set of memory that the war winners have selected and determined what should be remembered. In this sense, memory is politics. Key Words: World War II, the politics of memory, the War Museum, Allied war cemetery.  
Author
565080004-0 Miss PAKAWADEE THONGCHOMPUNUCH [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis false 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0