2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศที่ผ่านการเคลือบร่วมกับฮอร์โมนพืช 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่13 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ สุรินทร์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 มิถุนายน 2559 
     ถึง 25 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 13 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 95-105 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศบางพันธุ์มีการเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความงอกไม่สม่ำเสมอ ต้นกล้าไม่แข็งแรงมีการพัฒนาช้า วิธีการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชจะเป็นการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ วัตถุประสงค์การทดลองนี้เพื่อศึกษาหาชนิดและอัตราของฮอร์โมนพืชที่เหมาะสมกับการเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ และศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศหลังการเคลือบหลังการเร่งอายุ และหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน โดยทำการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยการเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วยสารเคลือบที่เตรียมขึ้นจากพอลิเมอร์ PVP-K30 ที่มีความเข้มข้น 3% ร่วมกับฮอร์โมนพืช 2 ชนิด คือ Gibberellins (GA3) ที่มีความเข้มข้น 1, 1.5 และ 2% และ Indole-3-butyric acid (IBA) ที่มีความเข้มข้น 0.05, 0.2 และ 0.3% ในอัตรา 200 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เคลือบด้วยเครื่องเคลือบแบบจานหมุนรุ่น SKK10 หลังจากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ไปตรวจสอบคุณภาพในสภาพห้องปฏิบัติการ ในลักษณะต่างๆ ผลการทดลองพบว่า การเคลือบเมล็ดร่วมกับฮอร์โมน IBA 0.05% และ 0.2% ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคลือบ แต่ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ เมื่อตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ด้วยวิธีการเร่งอายุที่อุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100% เป็นเวลา 72 ชั่วโมง พบว่าการเคลือบเมล็ดร่วมกับฮอร์โมน IBA 0.05% ทำให้เมล็ดมีความงอกและความเร็วในการงอกสูงกว่าวิธีการอื่นๆ หลังจากการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าการเคลือบร่วมกับฮอร์โมนพืชทั้งสองชนิดไม่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ 
ผู้เขียน
585030059-7 น.ส. ณัฐชญา สายคำวงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0