2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาคอนกรีตบล็อกผสมโฟมเพื่อลดน้ำหนักวัสดุุและการส่งผ่านความร้อนเข้าสู่อาคาร 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3 ประจำปี 2559 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเซนทาราคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 มิถุนายน 2559 
     ถึง 24 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 159-171 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ในการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มความเป็นฉนวนกันความร้อนและลดน้ำหนักให้คอนกรีตบล็อกโดยการใช้โฟม การศึกษานี้ได้นำกล่องโฟมใส่อาหารและโฟมเม็ดเป็นวัสดุผสมเพิ่มเติมหลักเพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีตบล็อก คอนกรีตบล็อกผสมโฟมจากกล่องโฟม และโฟมเม็ด นำมาเปรียบเทียบใน 4 รูปแบบได้แก่ คอนกรีตบล็อกแบบมาตรฐาน คอนกรีตบล็อกติดฉนวนโฟมภายใน คอนกรีตบล็อกผสมโฟมปั่น และคอนกรีตบล็อกผสมโฟมเม็ด โดยถูกนำมาเปรียบเทียบน้ำหนักของวัสดุและความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อนกับผนังคอนกรีตบล็อกแบบมาตรฐานที่มีใช้ในปัจจุบัน การพัฒนาคอนกรีตบล็อกผสมโฟมนี้ทำให้ทราบถึงผลรวมของน้ำหนักที่ลดลงและผลของความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อน โดยพบว่าคอนกรีตบล็อกผสมโฟมเม็ดมีน้ำหนักน้อยมีน้ำหนักลดลงจากคอนกรีตบล็อกแบบมาตรฐานประมาณ 43 % ในขณะที่คอนกรีตบล็อกผสมโฟมปั่นมีน้ำหนักน้อยมีน้ำหนักลดลงจากคอนกรีตบล็อกแบบมาตรฐานประมาณ 25 % และพบว่าอุณหภูมิภายในกล่องทดลองในช่วงเวลากลางวัน ผนังคอนกรีตบล็อกติดฉนวนโฟมภายใน มีความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารได้ดีที่สุด โดยในช่วงบ่ายผนังคอนกรีตบล็อกผสมโฟมเม็ดมีความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารใกล้เคียงกับคอนกรีตบล็อกติดฉนวนโฟมภายใน แต่ช่วงเวลาเย็นถึงช่วงกลางคืน มีการคายความร้อนที่รวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิภายในกล่องเย็นที่สุด การศึกษานี้จึงสามารถสรุปผลได้ว่าคอนกรีตบล็อกที่ผสมโฟม มีแนวโน้มที่ดีต่อการพัฒนาผลิตเพื่อนำมาใช้เพื่อลดน้ำหนักของวัสดุและลดการส่งผ่านความร้อนสู่อาคาร ทั้งยังเป็นการนำโฟมที่เป็นปัญหาขยะที่มีจำนวนมากและมีกระบวนการในการย่อยสลายที่ยาก มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป This research aims to increase insulation property and reduce weight of traditional concrete blocks by using foam. The study focues on using foam boxes and foam beads as materials mixed with the concrete block. The Four types of concrete blocks are compared, the standard concrete block, concrete block with foam lining, concrete block with foam blended foam, and concrete block with foam beads. There of concrete blocks are compared in terms of weight and capacity for heat transfer. The development of the concrete blocks can reduce both the material weight and heat transfer. In detail, the concrete block mixed with foam beads can reduce total weight for 43%, compared with the standard concrete block and that mixed with foam blended from used foam boxes can reduce total weight for 25%, compared to the standard concrete block. Moreover, it has been found that, during the daytime, the temperatures inside the experiment box of the concrete block with foam insulation lining are the lowest. That means it can reduce heat transfer more than the others during the daytime. During the afternoon, the concrete block mixed with foam beads can reduce the heat transfer as good as the concrete block attached with foam insulation lining. However, it can release heat faster than the others during the nighttime that made indoor temperatures of this one lowest. This study can be concluded that the foam mixed concrete block has good prospects in manufacturing development for reducing weight and heat transfer through building. Also, this will be a solution for using foam which causes abundant waste and problem of degradation.  
ผู้เขียน
565200018-3 นาย นภดล ละมุนเมือง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0