2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ผลของความสูงจากระดับน้ำทะเลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และสารเผ็ดของพริกเผ็ด (Capsicum chinense) ภายใต้สภาพโรงเรือน 
Date of Acceptance 10 October 2015 
Journal
     Title of Journal วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
     ISBN/ISSN  
     Volume  
     Issue  
     Month
     Year of Publication 2015 
     Page  
     Abstract การศึกษาการตอบสนองของพันธุ์พริกเผ็ดลูกผสม (C. chinense Jacq.) จำนวน 7 พันธุ์ ร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ซึ่งมีความเผ็ดแตกต่างกัน ภายใต้สภาพโรงเรือนใน 2 พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลแตกต่างกัน ( 200 เมตร ณ หมวดพืชผัก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 20 เมตร ณ บริษัท บางกอกแลป แอนด์ คอสเมติค จำกัด จังหวัดราชบุรี) พบว่า อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และพื้นที่ปลูกมีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และสารเผ็ด โดยพริกที่ปลูก ณ ขอนแก่น มีการเจริญเติบโต จำนวนผลต่อต้น และผลผลิตแห้งต่อต้นสูงกว่าพริกที่ปลูกที่จังหวัดราชบุรี อีกทั้งพันธุ์ Phet Mordindang และ Tubtim Mordindang มีผลผลิตสูงทั้งสองพื้นที่ ในลักษณะสาร Capsaicinoid พบว่า พันธุ์ Bhut Jolokia และ HB3 มีความเผ็ดที่สูงทั้ง 2 พื้นที่ อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่มีผลผลิตสารเผ็ดสูงทั้งสองพื้นที่ คือ พันธุ์ลูกผสม Phet Mordindang และ Tubtim Mordindang อีกทั้งในการศึกษานี้ยังพบอีกว่า พริกที่มีสารเผ็ดสูงมากกว่า 300,000 SHU (Bhut Jolokia และ HB3) มีความเผ็ดสูงขึ้นตามระดับความสูงของพื้นที่ปลูก ส่วนพันธุ์ที่มีความเผ็ดต่ำกว่า 300,000 SHU จะมีตอบสนองต่อสภาพพื้นที่ปลูกแตกต่างกัน งานทดลองนี้สรุปได้ว่า พริกพันธุ์ลูกผสม Phet Mordindang และ Tubtim Mordindang ให้ผลผลิตสารเผ็ดสูงทั้ง 2 พื้นที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตพริกเพื่อนำสารเผ็ดไปใช้ในอุสาหกรรม 
     Keyword แคปไซซิน ไดไฮโดรแคปไซซิน เภสัชกรรม อุตสาหกรรมสารเผ็ด 
Author
547030005-0 Mr. NAKARIN JEEATID [Main Author]
Agriculture Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0