2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุของคนวัยแรงงาน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 พฤษภาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 35 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการศึกษาในระยะที่หนึ่ง ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุของคนวัยแรงงานด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจเงินออม และที่อยู่อาศัยและผู้ดูแล ศึกษาในชุมชนแห่งหนึ่ง ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ คนวัยแรงงาน อายุ 40-59 ปี 20 คน และผู้เกี่ยวข้องรวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม สังเกตอย่างมีส่วนร่วม และจดบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่าคนวัยแรงงานร้อยละ 80.0 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.30 ปี (S.D.=4.62) ทั้งหมดประกอบอาชีพทำนา ร้อยละ 75.0 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 70.0 อาศัยอยู่กับคู่สมรสและบุตร และร้อยละ 40.0 มีโรคประจำตัว ด้านพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม พบว่า คนวัยแรงงานมีการเตรียมความพร้อมด้านสังคมและผู้ดูแลค่อนข้างดี คือ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ร่วมกิจกรรมชุมชนสม่ำเสมอ และเชื่อมั่นว่าจะมีผู้ดูแลเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ขณะที่การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจเงินออม และที่อยู่อาศัย พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความจำเป็นและไม่ได้เตรียมความพร้อมในด้านนี้ เพราะปัจจุบันร่างกายยังแข็งแรง ไม่มีปัญหาสุขภาพ สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้ และมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ทำให้มีพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมไม่เหมาะสมในหลายประเด็น ได้แก่ ด้านร่างกาย รับประทานอาหารตามความชอบ ทานรสหวาน มัน เค็มและอาหารดิบ ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลังเกินกำหนด ท่าทางทำงานไม่เหมาะสม ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ด้านจิตใจ รู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง กังวลถึงอนาคตในวัยสูงอายุ และจัดการความเครียดไม่เหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ ไม่ได้วางแผนการออมเงินและอาชีพสำรองสำหรับวัยสูงอายุ และด้านที่อยู่อาศัย ยังไม่คิดปรับปรุงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยสำหรับวัยสูงอายุ พยาบาลชุมชนตลอดจนบุคลากรสุขภาพสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการจัดบริการสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุของคนวัยแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้คนวัยแรงงานกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต  
     คำสำคัญ เตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุ วัยสูงอายุ วัยแรงงาน  
ผู้เขียน
575060034-4 น.ส. ศันสนีย์ สีต่างคำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0