2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ จังหวัดอัดตะปือสปป.ลาว.  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 มิถุนายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สสจ.กาฬสินธุ์ัฒนาระบบสุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สสจ.กาฬสินธุ์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง (Survey research bycross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ จังหวัดอัดตะปือ สปป.ลาวประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่สาธารณสุข ในจังหวัดอัดตะปือ ทั้งหมด60คนทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม ด้วยวิธีของครอนบาช (Cronbach’s Method) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Alpha Coefficient) ในภาพรวมเท่ากับ 0.91 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างระหว่างวันที่ 5 ถึง25 กุมภาพันธ์ 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด เพื่ออธิบายคุณลักษณะส่วนบุคคล และสถิติเชิงอนุมาน Pearson Product Moment Correlation Coefficient เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาประชากรที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(63.3%)มีอายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 30 ปีจำนวน 29 คน (48.3%) โดยมีอายุเฉลี่ย 33.42 ปี(S.D.=7.83 ปี) ส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก1 – 5 ปี (80.0%) ผลการศึกษา พบว่า ระดับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอจังหวัดอัดตะปือ สปป.ลาวพบว่าในภาพรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96(S.D.=0.53)ระดับแรงจูงใจพบว่าในภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.90(S.D.=0.43) แรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ และ ปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.04(S.D.=0.45 ) และ 3.75(S.D.=0.50) ตามลำดับ ภาพรวมแรงจูงใจ และภาพรวมของปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ระดับสูง ทางบวกกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( r = 0.750, p-value < 0.001 , r = 0.755, p-value < 0.001 ตามลำดับ) ส่วนภาพรวมของปัจจัยจูงใจ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( r = 0.593, p-value< 0.001)  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: แรงจูงใจ,โรคไข้เลือดออกและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ 
ผู้เขียน
585110181-5 Mr. INPANH INTHIRATH [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 9