2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพบ้านไผ่-โนนศิลา จังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 23 May 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN
     Volume 11 
     Issue
     Month มกราคม-เมษายน
     Year of Publication 2018 
     Page
     Abstract การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross – Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คุณลักษณะส่วนบุคคล และแรงจูงใจที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพบ้านไผ่ – โนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารสุขเครือข่ายบริการสุขภาพบ้านไผ่ – โนนศิลา จังหวัดขอนแก่น จำนวน 90 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จนครบ 78 คน และสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ในอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น พบว่า ค่า IOC ทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.5 วิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยกำหนดค่านัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และระดับแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่เครือข่ายบริการสุขภาพบ้านไผ่ – โนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.72 (S.D. = 0.68) และ3.54 (S.D.=0.55) ตามลำดับ คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.433, p-value < 0.001) การฝึกอบรมในด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = 0.256, p-value = 0.001) ภาพรวมแรงจูงใจ และปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.781, p-value < 0.001)และ(r = 0.808, p-value < 0.001) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.699, p-value < 0.001) ปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ และปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพบ้านไผ่ – โนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 65.5 โดยผลการวิจัยในครั้งนี้บุคลากรสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  
     Keyword การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, แรงจูงใจ 
Author
585110047-9 Mrs. CHAIYAPORN POTHIPOL [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0