2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาที่มีการติดตั้งแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ สัมพันธ์กับการระบายอากาศใต้หลังคา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มิถุนายน 2560 
     ถึง 16 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 165 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ในการวิจัยนี้เป็นการศึกษาความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศใต้หลังคาที่มีการติดฉนวนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ณ ตำแหน่ง ต่างๆ และศึกษาอิทธิพลของการระบายอากาศที่ส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศใต้หลังคาและในกล่องทดลองโดยการจัดทำกล่องทดลอง ระหว่างรูปแบบของวัสดุมุงหลังคา 2 แบบที่มีคือวัสดุมุงค่ามวลสารน้อย (Low Mass Material) และวัสดุมุงที่มีค่ามวลสารมาก (High Mass Material) นำมาเปรียบเทียบใน 2รูปแบบได้แก่แบบใช้การระบายอากาศเหนือฝ้าเพดาน และแบบไม่ใช้การระบายอากาศเหนือ ฝ้าเพดาน แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนสองด้าน โดยถูกนำมาติด ณ ตำแหน่งต่างๆเปรียบเทียบตำแหน่งของแผ่นอะลูมิเนียม ฟอยล์และความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อนกับวัสดุมุงหลังคาที่มีใช้ในปัจจุบัน การศึกษาความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศ ใต้หลังคาที่มีการติดฉนวนแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ณ ตำแหน่งต่างๆ และศึกษาอิทธิพลของการระบายอากาศที่ส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศ ใต้หลังคาโดยพบว่า ตำแหน่งการติดตั้งแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ใต้ลอนหลังคามีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงตอนกลางวัน สามารถป้องกันความ ร้อนได้มากที่สุดและจะต้องมีการเปิดการระบายอากาศใต้หลังคาจะลดอุณหภูมิต่ำให้กว่าอุณหภูมิอากาศมากที่สุดและพบว่าอุณหภูมิ ภายในกล่องทดลองในช่วงเวลากลางวัน วัสดุมุงที่มีค่ามวลสารมากจะสามารถป้องกันความร้อนได้ดีที่สุดในตอนกลางวัน โดยในช่วงบ่าย วัสดุมุงที่มีค่ามวลสารมากมีความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารได้ดีกว่าวัสดุมุงที่มีค่ามวลสาร น้อย แต่ช่วงเวลาเย็นถึงช่วงกลางคืนวัสดุมุงที่มีค่ามวลสารน้อย มีการคายความร้อนที่รวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิภายในกล่องเย็นที่สุด การศึกษานี้จึงสามารถสรุปผลได้ว่าแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน มีความสามารถสามารถป้องกันความร้อนได้และต้องมีการ อาศัยการระบายอากาศเหนือฝ้าเพดานร่วมด้วยจึงจะสามารถลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและวัสดุมุงที่มีค่ามวลสารมากจะ สามารถลดการส่งผ่านความร้อนสู่อาคาร ทั้งยังสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ใน งานก่อสร้างอาคาร ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อไป 
ผู้เขียน
565200019-1 นาย ปณิธาน บุตรแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0