2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ เปรียบเทียบกฎหมายการโฆษณายาระหว่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 มีนาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ 3 สถาบัน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน January – March
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 353-358 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทนำ: สาเหตุหนึ่งของการใช้ยาในทางไม่เหมาะสมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณายา (สปป. ลาว) อาจจะยังไม่รัดกุม งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณายา ของ สปป. ลาว กับ ประเทศไทย เพื่อค้นหาจุดที่ควนพัฒนาหรือปรับปรุงและให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนากฎหมายโฆษณายา ของ สปป. ลาว วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นงานวิจัยเอกสาร สังเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัย: การโฆษณายา ใน สปป. ลาว สามารถทำได้ 4 ช่องทาง คือ (1) วางแสดงในงานประชุมสัมมนา (2) เผยแพร่ผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ วิทยุ โทรทัศน์ (3) เผยแพร่ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ (4) วางแสดงในงานตลาดนัด กรณีของยาใหม่จะไม่อนุญาตให้โฆษณาผ่านช่องที่ (2) และ (3) การโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาใหม่ในประเทศไทยสามารถกระทำได้โดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะเท่านั้น ผู้อนุญาตโฆษณายา ใน สปป. ลาว คือกรมอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ในประเทศไทยสามารถขออนุญาตโฆษณายาผ่านสื่อโทรทัศน์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การโฆษณายาในสื่อวิทยุสามารถขอได้จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อายุการของใบอนุญาตโฆษณายาของ สปป. ลาว มีอายุระหว่าง 1 ครั้ง ถึง 1 ปี ของประเทศไทยมีอายุ 5 ปี สปป. ลาว ไม่มีการกำหนดโรคที่ห้ามโฆษณายา ขณะที่กฎหมายไทยได้กำหนดโรคที่ห้ามระบุในการโฆษณายาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาได้ มาตรการต่อผู้ละเมิด ของ สปป. ลาว มีเฉพาะโทษปรับ ของประเทศไทย มีทั้งโทษปรับและจำคุก แล้วแต่กรณีความผิดที่กระทำ สรุปผลการวิจัย: การเปรียบเทียบความแตกต่างกฎหมายเรื่องการโฆษณายาของ สปป. ลาว และประเทศไทย พบจุดที่ควนปรับปรุงของการโฆษณาของ สปป. ลาว ที่ควรพัฒนาใน 3 ประเด็นหลัก คือ ควรเพิ่มระยะเวลาของใบอนุญาตโฆษณาเพื่อป้องกันการที่ผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงที่จะขออนุญาตโฆษณา ช่องทางการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาใหม่ ควรปรับให้สามารถกระทำได้เฉพาะการโฆษณาที่กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะเท่านั้นเพื่อตัดเส้นทางไม่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลยาที่ยังไม่มีการยืนยันความปลอดภัยหลังการวางตลาด ควรกำหนดโรคที่ห้ามโฆษณายา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้บริโภคได้  
     คำสำคัญ กฎหมาย, การโฆษณายา, ผลิตภัณฑ์ยา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ประเทศไทย 
ผู้เขียน
585150071-8 Mr. CHANSOUK VONGSANSOUVANH [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0