2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article จุดสำคัญในการปรับปรุงอายุการใช้งานและผลผลิตตลอดชั่วอายุของแม่สุกร 
Date of Acceptance 13 July 2015 
Journal
     Title of Journal วารสารเกษตร 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
     ISBN/ISSN ISSN 0857-0841 
     Volume 2558 
     Issue
     Month กันยายน
     Year of Publication 2015 
     Page 367-378 
     Abstract การปรับปรุงอายุการใช้งานของแม่สุกรนั้นมีความสำคัญมากในการผลิตสุกร โดยส่งผลต่อต้นทุนและประสิทธิภาพการผลิตและมีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตตลอดชั่วชีวิตของแม่สุกร อายุการใช้งานของแม่สุกรเป็นลักษณะที่มีความซับซ้อนสามารถแปลความได้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการศึกษา สามารถคัดเลือกได้โดยตรงจากลักษณะ ระยะเวลาการให้ผลผลิตตลอดช่วงชีวิต, การให้ผลผลิตตลอดช่วงชีวิตหรือ การคงอยู่หรือไม่อยู่ในฝูงในช่วงที่กำหนด การคัดเลือกโดยอ้อมจากลักษณะที่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมสูง เช่น โครงสร้างของกีบและขา ค่าอัตราพันธุกรรมอายุการใช้งานของแม่สุกรอยู่ในช่วงต่ำถึงปานกลาง (0.03-0.27) ในการประเมินคุณค่าการผสมพันธุ์ (estimated breeding value; EBV) ซึ่งสามารถแบ่งการวิเคราะห์ อายุการใช้งานของแม่สุกร ได้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ลักษณะที่เก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง (continuous traits) เช่น การให้ผลผลิตตลอดช่วงชีวิต โดยใช้การวิเคราะห์ด้วย proportional hazard model หรือ survival แบบที่ 2 ลักษณะที่เก็บข้อมูลแบบ ไบนารี (binary) เช่น การแสดงการคงอยู่หรือไม่อยู่ในฝูงในช่วงที่กำหนด (stayability) การใช้เทคโนโลยีทางด้านอณูพันธุศาสตร์และเครื่องหมายพันธุกรรมมาช่วยในการคัดเลือกลักษณะอายุการใช้งาน โดยมียีนเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของแม่สุกรเช่น Keratin 8 (KRT8), Fas-associated factor 1 (FAF1) และ Parathyroid hormone type I receptor (PTH1R) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาการขาอ่อนแอและความหนาแน่นมวลกระดูกจึงมีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงพันธุกรรมอายุการใช้งานในแม่สุกร นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญการเลี้ยง,การให้อาหารและการจัดการอื่นๆรวมด้วย เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมให้สุกรสามารถแสดงศักยภาพออกมาให้มากที่สุดอีกด้วย ในการตรวจเอกสารครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของแม่สุกร เพื่อใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรต่อไป Sow longevity is very important in pig production. Sow longevity affects production cost and production efficiency in pig production systems because it associated with the lifetime productivity of sows. Sow longevity is a complex trait and definition can be different depending on purpose of study. Longevity can be selected from direct selection such as length of productive life, lifetime production and stayability. Additionally, Longevity also can be selected from indirect selection can select by a genetically highly correlated trait as feet and leg soundness. Heritability of longevity has ranged from low to moderate (0.03-0.27). Estimated breeding value of longevity traits can divide into two types of data 1) Continuous database lifetime productivity, which can be analyzed by proportional hazard model or survival model. 2) Binary data as stayability, it represents the probability that a sow is in herd at fixed parity. Molecular genetics technology and genetic markers to assist in the selection of longevity, which associated with sow longevity such as Keratin 8 (KRT8), Fas-associated factor 1 (FAF1) and Parathyroid hormone type I receptor (PTH1R), which this gene associated with leg weakness and bone mineral density. It is possible to improve genetic for sow longevity. Moreover feeding and other management are important to increase sow longevity. The aim of this review was to investigate the factors that influence the sow longevity and approach to improve production efficiency in pig production. 
     Keyword อายุการใช้งาน(Longevity) ผลผลิตตลอดชั่วอายุ(lifetime productivity) แม่สุกร(sow) 
Author
567030013-3 Mr. SUPPASIT PLAENGKAEO [Main Author]
Agriculture Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0