2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาอัตราการดึงดูดปริมาณจราจรสำหรับห้างค้าปลีก กรณีศึกษาเมืองภูมิภาค 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 
     สถานที่จัดประชุม เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 20 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 238-245 
     Editors/edition/publisher สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์/บริษัท โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด 505-507 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 
     บทคัดย่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องสู่เมืองภูมิภาคก่อให้เกิดความต้องการเดินทางและการจราจรเพิ่มสูงขึ้น หลายเมืองในพื้นที่ภูมิภาคต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการจราจรอันเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่แหล่งรวมกิจกรรม ห้างค้าปลีกถือเป็นแหล่งรวมกิจกรรมอีกประเภทที่ดึงดูดการเดินทางซึ่งส่งผลกระทบต่อการจราจรของพื้นที่ เช่น การจราจรติดขัด การจัดการจราจรภายในห้างค้าปลีก รวมถึงพื้นที่จอด การคาดการณ์การดึงดูดปริมาณจราจรถือเป็นสิ่งมีความสำคัญในการประมานปริมาณจราจรการเดินทางที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ งานวิจัยนี้ศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณจราจรของห้างค้าปลีก โดยรวบรวมข้อมูลปริมาณจราจรเข้าออก และปัจจัยเชิงกายภาพ ประกอบด้วย พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด พื้นที่ให้เช่าและค้าปลีก และจำนวนช่องจอดของห้างค้าปลีก จำนวน 11 แห่งที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยใช้หลักการวิเคราะห์การถดถอย (Regression- Analysis) จากการศึกษาพบว่าพื้นที่เช่าและค้าปลีกมีอิทธิพลต่อปริมาณจราจรเข้าออกและความต้องการจอด โดยห้างค้าปลีกมีขนาดพื้นที่เช่าและค้าปลีกขนาดใหญ่ และจำนวนช่องจอดมาก จะมีปริมาณจราจรเข้าออกมาก การศึกษานี้จะสามารถใช้สมการถดถอยเชิงเส้นคาดการณ์ปริมาณจราจรเข้าออกและความต้องการจอดสำหรับห้างค้าปลีก เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและจัดการจราจรได้อย่างเหมาะสมในอนาคตได้ 
ผู้เขียน
575040041-9 นาย ศราวุธ ประวัติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0