2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 มิถุนายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN 1906-2605 
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 248 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) จำนวน 164 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแนวทางในการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.96 ดำเนินการเก็บข้อมูล ในระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยการบริหาร และระดับการปฏิบัติงานของอำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.66 (S.D. = 0.45), 3.99 (S.D. = 0.46) ตามลำดับ คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ด้านอายุมีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางลบกับการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -0.253, p-value = 0.001) สถานภาพสมรส(คู่) และระดับการศึกษา(ปริญญาโท) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวกกับการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.196, p-value =0.012, r= 0.180, p-value = 0.0219 ตามลำดับ) และปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (r= 0.703, p-value < 0.001) ตัวแปรด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี และด้านเวลา ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ตัวแปรสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 65.3 โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  
     คำสำคัญ งานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, ปัจจัยการบริหาร 
ผู้เขียน
585110059-2 นาง ลักษณาพรรณ แก้วมูลมุข [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0