2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความเสี่ยงอันตรายและเส้นทางการเข้าสู่อาชีพ ของคนรับจ้างฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า พื้นที่ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 
Date of Distribution 20 July 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัย และนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 
     Organiser กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     Conference Place มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     Province/State พิษณุโลก 
     Conference Date 20 July 2017 
     To 21 July 2017 
Proceeding Paper
     Volume 13 
     Issue
     Page 616-628 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษาเชิงพรรณาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความเสี่ยงจากการทำงาน และเส้นทางการเข้าสู่อาชีพของคนรับจ้างฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า พื้นที่ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยการสัมภาษณ์และประเมินความเสี่ยงจากการทำงานตามแบบ นบก.1-56 จากกลุ่มตัวอย่าง 80 คนถูกสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็นกระจายตามสัดส่วนประชากร และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทน 20 คน ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบไคสแคว์ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ทั้งหมดเป็นเพศชาย รับจ้างฉีดพ่นเฉลี่ยวันละ 5 ชม. ร้อยละ43.7ฉีดพ่นเกิน30วันต่อปี บางรายมีพฤติกรรมขณะฉีดพ่นที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีการสัมผัสสารเคมีเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หลังการฉีดพ่นเกินครึ่งหนึ่งไม่ได้เปลี่ยนชุดทำงานหรืออาบน้ำชำระร่างกายทันที พบว่ามีการดื่มแอลกอฮอล์ทันทีเพื่อถอนพิษยาถึงร้อยละ 23 ภายหลังการฉีดพ่นมีรายงานการเจ็บป่วยคิดเป็นร้อยละ 71.2 แต่มีอาการเพียงเล็กน้อย และยังพบว่าคนที่ทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักแล้วรับจ้างฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าเป็นอาชีพเสริมมีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าถึง 13.24 เท่า(AOR=13.24,95%CI=2.01-87.26) การฉีดพ่นเกิน 4 ชม.ต่อวัน และการฉีดพ่นสะสมต่อเนื่องเกิน 30วันต่อปี มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=3.21; 95%CI=1.12-9.23 และ OR=3.22; 95%CI=1.01-8.51ตามลำดับ) ผลการประเมินความเสี่ยงอันตราย พบว่าว่าร้อยละ 50.0 มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง พบความเสี่ยงสูง ร้อยละ 5.0 เส้นทาง รูปแบบ และมูลเหตุจูงใจในการการเข้าสู่อาชีพนี้ ได้แก่ การชักชวนมาทำเป็นอาชีพเสริม ฐานะความเป็นอยู่ รายได้จากค่าจ้าง ภาวะความเป็นผู้นำ ความสัมพันธ์ของคนชุมชน จึงควรนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานและสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการฉีดพ่นที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในพื้นที่ต่อไป  
Author
585070052-7 Mr. SAWAI CHAIPRAKOM [Main Author]
Medicine Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0