2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สัดส่วนความต้องการการดูแลภาวะสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลบ้านบุ่งหมากลาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 32 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ตุลาคม 2560
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า
     บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: สัดส่วนและจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก และควรจัดให้มีบริการการดูแลระยะยาวให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนความต้องการการดูแลระยะยาวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งหมากลาน ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรศึกษาคือ ประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 890 ราย สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในเชิงปฏิบัติ ดัชนี บาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index: ADL) และภาวะสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยพนักงานสัมภาษณ์ที่ผ่านการอบรมแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ Odds Ratio 95%CI และ Adjusted Odds ratio ผลการศึกษา: อัตราตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 85.28 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา สัดส่วนของความต้องการการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 2.5 (95%CI: 1.15, 3.81) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน ได้แก่ การประกอบอาชีพ (AOR 0.01 95% 0.001, 0.03) การเป็นสมาชิกกลุ่มสวดมนต์ (AOR 0.24 95%CI 0.06, 0.93) การรับรู้ภาวะสุขภาพปัจจุบัน (AOR 9.21 95% 2.26, 37.42) และการขึ้นทะเบียนผู้พิการ (AOR 15.93 95% 2.75, 92.27) สรุป: ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสวดมนต์ และกลุ่มผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเองมีภาวะสุขภาพที่ต้องการดูแล ควรมีการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาระบบการดูแล ผู้สูงอายุที่มีความพิการ เพื่อฟื้นฟูสภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความต้องการการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน ต่อไป  
     คำสำคัญ ความต้องการการดูแล การดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุ ชุมชน 
ผู้เขียน
585070043-8 น.ส. มะลิวรรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0