2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 32 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ตุลาคม 2560
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า
     บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะช่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทองทั้งหมดจำนวน 154 คน ผ่านเกณฑ์คัดเข้าคัดออกแล้วคงเหลือ จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดตอบเอง มี 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเที่ยง คิดเป็น 0.71 เก็บข้อมูลโดยผู้ช่วยนักวิจัยที่ผ่านการอบรมแล้ว สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ student t-test และ 95%CI ผลการศึกษา: อัตราตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศหญิง อายุเฉลี่ย 62.32 ปี ±(SD12.06) การศึกษาสูงสุดประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง มีระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ 6-10 ปี พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 3.13 คะแนน ±(SD 0.42) 95%CI (3.06, 3.19) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองคือ ระดับการศึกษา การมีโรคประจำตัวอื่นๆ และการได้รับข้อมูลข่าวสาร การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป: เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ควรให้ความสำคัญกับการศึกษาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคอื่นร่วม และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรพัฒนารูปแบบในการให้ข้อมูล เรื่องอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยต่อไป  
     คำสำคัญ การรับรู้อาการเตือน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  
ผู้เขียน
585070051-9 น.ส. สายฝน เติบสูงเนิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0