2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเก๊กฮวยและความรู้ของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองดินดำ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ ๗ “ประเทศไทย ๔.๐ นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ S515-S524 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนพฤติกรรมของประชาชนที่บริโภคเก๊กฮวยและระดับความรู้เกี่ยวกับเก๊กฮวย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองดินดำ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็น ประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล และอาศัยอยู่จริง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามชนิดตอบเอง ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา Content validity โดยนำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Reliability) จำนวน 30 ชุด ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนแบค (Cronbach’s alpha coefficient) ของระดับความรู้เท่ากับ 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมานใช้ไคสแควร์ กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามกลับ 349 คน คิดเป็น ร้อยละ 98.9 ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ56.6 มีอายุเฉลี่ย 36.4 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 11,262.3 บาท มีผู้เคยใช้สมุนไพรเก๊กฮวย ร้อยละ 59.6 แตกต่างกันระหว่างชายและหญิง (p<0.05) โดยหญิงใช้ร้อยละ 61.7 มากกว่าชายใช้ร้อยละ 57.4 วัยผู้ใหญ่ใช้มากกว่าเยาวชน (p<0.01) โดยผู้ใหญ่ใช้ร้อยละ 63.6 มากกว่าเยาวชนใช้ร้อยละ 46.9 กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาสูงใช้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาต่ำกว่า (p<0.05) โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษามัธยมศึกษาขึ้นไปใช้ร้อยละ 63.4 มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาประถมศึกษาและต่ำกว่าใช้ร้อยละ 50.9 กลุ่มตัวอย่างใช้ในรอบ 1ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 53.4 ใช้ในรอบ 1เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 30.3 แม้เก๊กฮวยจะได้รับความนิยมบริโภคแต่พบว่าระดับความรู้ของผู้บริโภคมีไม่มากนัก จึงควรพิจารณาให้สุขศึกษากับประชาชนให้มีความรู้ที่ถูกต้องและพ้นจากการบริโภคเก๊กฮวยในทางที่ผิด  
ผู้เขียน
585070041-2 น.ส. ญาณิชศา มาเหง่า [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0