2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครปี พ.ศ. 2539-2559 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารควบคุมโรค 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 
     ISBN/ISSN 1685-6481 
     ปีที่ 43 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และหาความสัมพันธ์ระหว่างการป่วยกับสภาพภูมิอากาศ ประชากรศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้ง 3 รหัสโรค (26, 27 และ 66) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 – 30 กันยายน 2559 โดยศึกษาจากข้อมูลรายงานผู้ป่วยทางระบาดวิทยาและข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน อัตรา อัตราส่วน และสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม 192,613 ราย อัตราป่วย 35.47-461.19 ต่อประชากรแสนคนต่อปี อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0-0.18 สัดส่วนอัตราป่วยในกลุ่ม 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ส่วนกลุ่ม 10-14 ปี คงที่ และกลุ่ม ≤9 ปี แนวโน้มลดลง ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเพิ่มของอายุเฉลี่ยผู้ป่วยและอายุเฉลี่ยประชากร (r = -0.22, 95% CI = -0.69 to 0.38, p=0.47) อัตราส่วนผู้ป่วยเพศชายสูงกว่าเพศหญิง รูปแบบการระบาดก่อนปี พ.ศ. 2548 เป็นแบบสองปีเว้นสองปี หลังจากนั้นรูปแบบไม่แน่นอน การระบาดตามฤดูกาลช้าลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จากเดิมที่มีอัตราป่วยต่ำสุดเดือนเมษายนเลื่อนเป็นเดือนพฤษภาคม อัตราป่วยเริ่มสูงจากเดือนมิถุนายนเป็นเดือนกรกฎาคม อัตราป่วยมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับปริมาณน้ำฝน (r=0.18, 95% CI = 0.05 to 0.29, p=0.01) อุณหภูมิ (r = -0.18, 95% CI = -0.30 to -0.06, p=0.00) และความชื้นสัมพัทธ์ (r = 0.20, 95% CI = 0.08 to 0.32, p=0.00) ในเชิงพื้นที่พบเขตที่ระบาดซ้ำซากทุกปี จำนวน 35 เขต และอัตราป่วยรายเขตมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับความหนาแน่นประชากร (r=0.08, 95% CI = 0.01 to 0.16, p=0.03) แต่ละปีพบผู้ป่วย DHF มากที่สุด (ร้อยละ 51.26-92.59) รองลงมาคือ DF (ร้อยละ 6.69-48.49) และ DSS (ร้อยละ 0.25-0.83) ช่วงปี พ.ศ. 2552-2559 พบว่าสัดส่วนผู้ป่วย DF มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ DHF ลดลง หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคให้สอดคล้องกับฤดูการระบาดที่เปลี่ยนไป ควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ระบาดซ้ำซาก แพทย์ต้องตระหนักและคำนึงถึงโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่มากขึ้น รวมถึงควรระวังผู้ป่วย DF ที่อาจมีอาการไม่ชัดเจน 
     คำสำคัญ ระบาดวิทยา, ไข้เลือดออก, กรุงเทพมหานคร 
ผู้เขียน
585110158-0 น.ส. จุลจิลา หินจำปา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0