2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 9 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "สังคมคุณภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ชีวิตและสังคมผู้สูงอายุ" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย 
     สถานที่จัดประชุม อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย 
     จังหวัด/รัฐ ปทุมธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 9 มิถุนายน 2560 
     ถึง 9 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ปีการศึกษา 2559 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 134 - 145 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีผลต่อความต้องการในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 378 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษาของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร (Chi Square) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาใช้ระยะเวลาใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษา 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่นักศึกษาใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษาเพื่อการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม โดยปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในด้านการศึกษาของนักศึกษา คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษา และด้านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คำสำคัญ: พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน นักศึกษา การศึกษา  
ผู้เขียน
575210048-9 น.ส. ณัฐธิดา ทึนรถ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเศรษฐศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0