2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ INDIVIDUAL ATTRIBUTES AND MOTIVATION AFFECTING THE PERFORMANCE OF HEALTH PERSONNEL IN LONG TERM CARE FOR THE ELDERLY AT SUB-DISTRICT HEALTH PROMOTING HOSPITAL IN PHETCHABUN PROVINCE  
Date of Acceptance 24 July 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ Research and Development Health System Journal สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     Volume 11 
     Issue
     Month พฤษภาคม ถึง สิงหาคม
     Year of Publication 2018 
     Page  
     Abstract สร้อยทอง กันงา 2560. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะพล ศรีฤาชา บทคัดย่อ การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 153 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน และสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 23 เมษายน 2560 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ระดับแรงจูงใจ และระดับการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.52 (S.D.=0.43), และ 3.65 (S.D.=0.54) ตามลำดับ ภาพรวมของแรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.557, p-value<0.001), (r=0.547, p-value<0.001) และ (r=0.501, p-value <0.001) ตามลำดับ ตัวแปรปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน ตัวแปรปัจจัยค้ำจุนด้านการปกครองบังคับบัญชา ตัวแปรปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงาน และตัวแปรปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 39.8 Sroytong Kannga. 2017. Individunal Attributes And Motivation Affecting The Performance of Health Personnel in Long Term Care For The Elderly At Sub District Health Promoting Hospital in Phetchabun Province. Master of Public Health Thesis In Public Health Administration ,Graduate School, Khon Kaen University. Thesis Advisor: Assoc. Prof. Dr. Chanaphol Sriruecha ABSTRACT This is a cross sectional descriptive research aimed to study motivation affecting health care performance of long-term elderly health officers of District Health Promotion Hospital. In phetchabun. The samples were 127 personnel randomly selected by systematic random sampling from the 157 population. This study was collected both quantitative and qualitative data. Focus group guideline was use to collect qualitative data from 12 people’s key informants who can provide intensive information on the topics. The questionnaire was examined and verified for content validity and tested for reliability in a pilot study of yielding all items of IOC ≥ 0.5 and Alpha Coefficient was at 0.97. Data collected between February. March 23rd,2017 to April 23rd,2017. The data was analyzed by descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, median, minimum, maximum, and inferential statistics were Pearson product moment correlation and Stepwise multiple linear regressions. The results showed that the motivation, and the long-term care level of the registered Public health officer at sub-district health promoting hospital in Phetchabun Province were found at high level with averages of 3.52 (S.D.=0.43), and 3.65 (S.D.=0.54), respectively. The motivation variable, motivation factors, hygiene factors and had moderate positive relationship with long term care of the registered Public health officer with (r=0.557, p-value<0.001), (r=0.547, p-value<0.001) and (r=0.501, p-value<0.001), respectively. Two motivation variable; work itself, and company policy and administration could predict long-term care of the registered Public health officer for 39.8 percentage.  
     Keyword การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว 
Author
585110038-0 Miss SROYTONG KANNGA [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0