2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยกลวิธี FOPS เรื่องการวัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ “ศึกษาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 4 (Educational Research Conference 4th) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรม หรรษา เจบี หาดใหญ่ 
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 27 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 646 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยกลวิธี FOPS เรื่อง การวัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการวัดให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ผ่านกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยกลวิธี FOPS เรื่อง การวัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยในครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบ้านหนองหาน(วันครู 2502) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยกลวิธี FOPS เรื่อง การวัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัย แบบบันทึก การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องการวัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการสรุปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาด้วยกลวิธี FOPS เรื่อง การวัด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิมโดยใช้สื่อการเรียนรู้ 2) ขั้นเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น ให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้น ตามขั้นตอนกลวิธี FOPS 3) ขั้นสรุป เป็นการสรุปหลักการ ความคิดรวบยอดของบทเรียน 4) ขั้นการศึกษากลุ่มย่อย เป็นขั้นที่ให้นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยนักเรียนช่วยกันแก้ปัญหาตามขั้นตอน FOPS 5) ขั้นพัฒนาการนำไปใช้ เป็นขั้นที่ให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกทักษะเป็นรายบุคคล 6) ขั้น การทดสอบย่อย นักเรียนทำการทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการแต่ละวงจรเป็นรายบุคคล 7) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้าเป็นการหาผลต่างระหว่างคะแนนฐานกับคะแนนที่ทำแบบทดสอบท้ายวงจร แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์คะแนนความก้าวหน้า แล้วนำคะแนนความก้าวหน้ามาเฉลี่ยเป็นคะแนนกลุ่ม 8) ขั้นการยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ เป็นการนำคะแนนของกลุ่ม เทียบกับเกณฑ์เพื่อกำหนดกลุ่มที่ได้รับการยกย่อง 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัด โดยมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 82.5 ของนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.63 โดยการแก้ปัญหาในขั้น F : Find the problem type การพิจารณาข้อมูลของปัญหา ขั้น O : Organize the information in the problem using the diagram การจัดข้อมูลลงในแผนภาพ ขั้น P : Plan to solve the problem การวางแผนการแก้ปัญหา และ ขั้น S : Solve the problem การแก้ปัญหา นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 93.33, 72.78, 66.94 และ 69.44 ตามลำดับ  
ผู้เขียน
585050088-8 น.ส. อุษา ดรจ้ำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0