2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การสนับสนุนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการเขียนโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการโต้แย้ง 
Date of Distribution 21 July 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมสัมมนาวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 
     Organiser บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 
     Conference Place ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทร์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 
     Province/State พิษณุโลก 
     Conference Date 21 July 2017 
     To 21 July 2017 
Proceeding Paper
     Volume GNRU2017 
     Issue O:ED45 
     Page 84-85 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนประกอบสำคัญในการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์รวมของกระบวนการให้เหตุผลและการพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ ดังนั้นครูควรจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง สารละลาย ที่เรียนรู้ด้วยการสืบเสาะที่เน้นการโต้แย้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบวัดการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ที่ครอบคลุม 3 มโนมติ ในเรื่องสารละลาย ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลผลการวิเคราะห์ความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทั้งก่อนและหลังเรียน ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ และสถิติเชิงอ้างอิง เช่น Wilcoxon signed-ranks test เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) ก่อนเรียนนักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58.06) มีความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ นั่นคือ นักเรียนไม่สามารถให้หลักฐาน ให้เหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้ง และเหตุผลในการโต้กลับได้ แต่หลังจากการจัดการเรียนรู้พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เป็นระดับปานกลาง โดยนักเรียนสามารถให้ข้อกล่าวอ้าง และหลักฐาน ได้ดีขึ้น 2) ความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน แสดงว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะที่เน้นการโต้แย้งช่วยสนับสนุนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง สารละลายได้ คำสำคัญ: การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการโต้แย้ง สารละลาย  
Author
585050239-3 Miss ABSORN PUNRIT [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลดีเด่น การนำเสนองานวิจัย (ภาคบรรยาย) กลุ่มการศึกษา กลุ่ม5 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ 
     Date of awarding 21 กรกฎาคม 2560 
Attach file
Citation 0