2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ในเขตจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแพทย์นาวี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองวิทยาการ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ 
     ISBN/ISSN ISSN:0125-6971 
     ปีที่ 45 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า
     บทคัดย่อ สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตจังหวัดขอนแก่น Situation And Factors Associated with Depression Among Diabetes Mellitus Type 2 Patients InKhonKaen Province พว.จิตรา ธำรงชัยชนะ*.รศ.ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์**ดร.วิลัยพร ถื่นคำรพ*** JitraThamrongchaichana, M.P.H.*WongsaLaohasiriwong, Ph.D. **WilaipornThinkumlop,Ph.D*** บทคัดย่อ การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายสถานการณ์และประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ในเขตจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน407คน ที่ถูกเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ ตอบแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายสถานการณ์ภาวะซึมเศร้า และสมการการถดถอยพหุโลจิสติกในการประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.06 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ32.68 มีอายุเฉลี่ย 62.38 (± 9.06) ปีมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 18.92 (95%CI: 15.10-22.74, p-value<0.001 ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (Adjusted =4.94,95% CI: 2.03-12.00 p-value<0.001) มีหนี้สิน (Adjusted =3.75,95% CI: 1.75-8.05p-value<0.003) ไม่มีอาชีพหรือเป็นแม่บ้าน (Adjusted =2.49,95% CI: 1.27-4.87 p-value<0.006) มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในระดับต่ำ (Adjusted =8.91,95% CI: 4.23-18.77 p-value<0.001)สามารถควบคุมระดับ HbA1C ได้ไม่ดี (Adjusted =5.37,95% CI: 1.18-24.39 p-value<0.023) ได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในระดับต่ำ (Adjusted =12.27,95% CI: 5.10-29.48 p-value<0.001) มีความเครียดในระดับมาก (Adjusted =6.28,95% CI: 2.80-14.09 p-value<0.001) และ เล่นการพนัน (Adjusted =2.48,95% CI: 1.05-5.86 p-value<0.041) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ได้แก่ผู้สูงอายุ มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ ต้องการความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการเสริมพลังและช่วยให้มีส่วนร่วมในสังคมเพื่อช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ABSTRACT This cross-sectional study aimed to identify the situation of depression, its associated factors among Type II diabetes mellitus patients in KhonKaen province. A total of 407 patients of Type II diabetes mellitus were selected by using multistage random sampling proportional to size of the population from 26 districts in KhonKaen province. The multiple logistic regressions were applied to determine the factors associate with depression of Type II diabetes mellitus patients and illustrated with the confidence interval (Adjusted OR 95% CI). The results indicated that majority of participants were female (68.06%) with the average age of 62.38 ± 9.06 years. and 32.68 % were in agricultural sectors.The participants have the depression were 18.92% (95%CI: 15.10-22.74). The factors associated with depression of Type II diabetes mellitus patients were; age 60 years old and older (adj.OR =4.94,95% CI: 2.03-12.00 p-value<0.001), Have debts (adj.OR=3.75,95% CI: 1.75-8.05p-value<0.003), No career or housewife(adj.OR =2.49,95% CI: 1.27-4.87 p-value<0.006), Had the low levels of knowledge of diabetes(adj.OR=8.91,95% CI: 4.23-18.77 p-value<0.001), HbA1C levels are poorly controlled(adj.OR=5.37,95% CI: 1.18-24.39 p-value<0.023), recognized and appreciated at low levels(adj.OR =12.27,95% CI: 5.10-29.48 p-value<0.001), had the high stress(adj.OR =6.28,95% CI: 2.80-14.09 p-value<0.001) and the gamble (adj.OR =2.48,95% CI: 1.05-5.86 p-value<0.041) The vulnerable Type II diabetes mellitus patients for depression among found in this study were the elder persons with low socioeconomic status. They need information to help improving knowledge and systematic support for behavior modification in order to improve the blood glucose level control. Social integration and empowerment were in need to help reducing stress and depression. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โรคเบาหวานมีผลกระทบต่อผู้ป่วยด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม เกิดผลเสียโดยตรง เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่ารักษาพยาบาล เกิดผลเสียทางอ้อม เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ขาดรายได้จากการทำงาน ทำให้สมรรถภาพในการทำงานลดน้อยลง ประชาชนสุขภาพเสื่อมถอย ประเทศชาติขาดรายได้ สิ่งเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิด ความเครียดทางจิตใจ1 ความผิดปกติทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นความผิดปกติทางด้านจิตเวชที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งประมาณ ร้อยละ 10 ในผู้ป่วยโรคทางกายที่อยู่รับการรักษาในโรงพยาบาลฝ่ายกาย และมีปัญหาทางจิตใจจนส่งผลต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ เป็นความผิดปกติทางด้านอารมณ์ซึมเศร้ามากที่สุด2 กรมสุขภาพจิต3 ได้รายงานอัตราของผู้ป่วยซึมเศร้าของประเทศไทยต่อประชากรหนึ่งล้านคน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550–2553 ซึ่งอาจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกปีดังนี้ 94.90, 174.78, 163.76 และ 140.55 จากสถิติดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงถึงสถิติของผู้ป่วยซึมเศร้าของประเทศไทย พบว่าแนวโน้มอัตราของผู้ป่วยซึมเศร้าพบในปริมาณเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ถ้าประเมินด้วยแบบสอบถามในการประเมินตนเอง มีความชุกร้อยละ 31.0 ในขณะที่ถ้าใช้ Standardized diagnostic interview พบอัตราความชุกในการเกิดร้อยละ 11.04นอกจากนี้ Van den Akker, Schuurman,Metsemakers, &Buntinx5 ได้ทำการศึกษาเรื่องภาวะโรคซึมเศร้าเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ที่เกิดขึ้นภายหลังหรือไม่ จากผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมไม่พบความสัมพันธ์กัน แต่พบว่า โรคซึมเศร้าในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 20–50 ปี มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น จากสภาพปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ใน เขตจังหวัด ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มีความสัมพันธ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่เข้ารับการรักษาในเขตจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำปัจจัยที่เป็น ปัญหามาวางแผนและหาแนวทางในการแก้ไขไม่ให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนและนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและเป็นข้อมูลให้ญาติและครอบครัวนำไปดูแลและส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุขต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1.เพื่อระบุสถานการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตจังหวัดขอนแก่น 2.เพื่อระบุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตจังหวัดขอนแก่น วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง(Cross-sectional analytical study) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์จากแบบสัมภาษณ์ (Structured questionnaire interview) ซึ่งจะประกอบด้วยลักษณะทางประชาชนที่ศึกษาสถานการณ์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ในเขตจังหวัดขอนแก่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน 94,120คนุ6 กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) คำนวณโดยใช้สูตรคำนวณตัวอย่างสำหรับ กรณีวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ Multivariate ใช้สถิติ Multiple logistic regressionขนาดตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ 407 คน การพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาการวิจัยครั้งนี้ ได้รับการรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE 602066 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ตอนที่ 1 ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลประกอบด้วยเพศ อายุ สำเร็จการการศึกษาสถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพปัจจุบัน เป็นแบบเลือกตอบและเติมในช่วงว่างจำนวน 6ข้อ ตอนที่ 2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและภาวะสุขภาพประกอบด้วย ระยะเวลาการเจ็บป่วยและการรักษา ภาระการเงินหนี้สิน การเล่นการพนัน การสูบบุหรี่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย เป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบและเติมในช่วงว่างมีจำนวน 6 ข้อ ตอนที่ 3ปัจจัยด้านร่างกายประกอบด้วยภาวะโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะดันโลหิตสูง ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตในครอบครัว และภาวะแทรกซ้อนเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบและเติมในช่วงว่างมีจำนวน 16ข้อ และทัศนคติที่มีต่อโรคเบาหวาน จำนวน 12ข้อ น้อย หมายถึง มีความคิดเห็น หรืออาการความรู้สึกในเรื่องนั้นเพียงเล็กน้อย หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆเพียงเล็กน้อย ปานกลาง หมายถึง มีความคิดเห็น อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆพอยอมรับได้ หรือพอทนได้ หรือใช้ความพยายามที่จะทนจนรับได้ มาก หมายถึง มีความคิดเห็น อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆมากที่สุด หรือเห็นด้วยกับ ตอนที่ 4 ปัจจัยด้านจิตใจประกอบด้วยความเครียด วิตกกังวล ความขัดแย้งในครอบครัวสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ 5ตัวเลือกจำนวน 23 ข้อโดยค่าคะแนนมีความหมายดังนี้ ไม่เลยหมายถึง ไม่เคยมีพฤติการณ์ อาการ ความรู้สึก หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆ เล็กน้อย หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นเพียงเล็กน้อย หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆเพียงเล็กน้อย ปานกลาง หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆพอยอมรับได้ หรือพอทนได้ หรือใช้ความพยายามที่จะทนจนรับได้ มาก หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆมากที่สุด หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆมาก มากที่สุด หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆมากที่สุด หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆมากที่สุดใช้คำถามให้ผู้ตอบเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของการปฏิบัติงาน ซึ่งผันแปรเป็น 5 ระดับ คือ น้อยที่สุด ให้น้ำหนัก 1 คะแนน น้อย ให้น้ำหนัก 2 คะแนน ปานกลาง ให้น้ำหนัก 3 คะแนน มาก ให้น้ำหนัก 4 คะแนน มากที่สุด ให้น้ำหนัก 5 คะแนน นำคะแนนมาหาค่าเฉลี่ยและผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criteria) เป็นเกณฑ์ในการแปรความหมาย ดังนี้ คะแนน 1.00 – 2.33 = การปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ คะแนน 2.34 – 3.67 = การปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง คะแนน 3.68 – 5.00 = การปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ตอนที่ 5ปัจจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมประกอบด้วยการได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าการช่วยเหลือประคับประคองและสนับสนุนความต้องการจากครอบครัวการช่วยเหลือด้านเงินสิ่งของและการบริการการได้รับการช่วยเหลือข้อมูลข่าวสารเป็นข้อคำถามแบบเลือกจำนวน 3 ตัวเลือกมีจำนวน 25 ข้อโดยค่าคะแนนมีความหมายดังนี้ ไม่เลยหมายถึง ไม่เคยมีพฤติการณ์ อาการ ความรู้สึก หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆ เล็กน้อย หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นเพียงเล็กน้อย หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆเพียงเล็กน้อย ปานกลาง หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆพอยอมรับได้ หรือพอทนได้หรือใช้ความพยายามที่จะทนจนรับได้ มาก มายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆมากที่สุด หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆมาก มากที่สุด หมายถึง เคยมีเหตุการณ์ อาการความรู้สึกในเรื่องนั้นๆมากที่สุด หรือเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆมากที่สุด ใช้คำถามให้ผู้ตอบเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ของการปฏิบัติงาน ซึ่งผันแปรเป็น 5 ระดับ คือ น้อยที่สุด ให้น้ำหนัก 1 คะแนน น้อย ให้น้ำหนัก 2 คะแนน ปานกลาง ให้น้ำหนัก 3 คะแนน มาก ให้น้ำหนัก 4 คะแนน มากที่สุด ให้น้ำหนัก 5 คะแนน นำคะแนนมาหาค่าเฉลี่ยและผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criteria) เป็นเกณฑ์ในการแปรความหมาย ดังนี้ คะแนน 1.00 – 2.33 = การปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ คะแนน 2.34 – 3.67 = การปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง คะแนน 3.68 – 5.00 = การปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ตอนที่ 6 ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน ประกอบไปด้วยข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับความหมายและสาเหตุอาการของโรคเบาหวานโรคแทรกซ้อนเบาหวาน การรักษาและป้องกันเป็นข้อคำถามแบบเลือกจำนวน 2 ตัวเลือกมีจำนวน 12 ข้อโดยค่าคะแนนมีความหมายดังนี้ ใช่ หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยกับประโยคที่ถาม ไม่ใช่ หมายถึง ผู้ตอบไม่เห็นด้วยกับประโยคที่ถาม ถือเกณฑ์ว่าถ้าตอบถูกต้องที่สุดได้ 1 คะแนน ถ้าเลือกคำตอบไม่ถูกต้องได้ 0 คะแนนโดยใช้เกณฑ์การให้ค่าระดับคะแนน ดังนี้ ผู้ที่ได้คะแนนความรู้ สูงกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ถือว่ามีความรู้มาก ผู้ที่ได้คะแนนความรู้ อยู่ระหว่างร้อยละ 60 ถึง 79 ถือว่ามีความรู้ปานกลาง ผู้ที่ได้คะแนนความรู้ ต่ำกว่าร้อยละ 60 ถือว่ามีความรู้น้อย ตอนที่ 7 เป็นการสัมภาษณ์โดยใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้าโดยใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้า2คำถาม(2Q)และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9คำถาม (9Q)ของกรมสุขภาพจิตด้วยการสัมภาษณ์จากพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมการใช้แบบประเมินจากกรมสุขภาพจิต โดยการใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้า2คำถาม(2Q)และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9คำถาม (9Q) มีข้อคำถาม จำนวน 2ข้อและ9 ข้อโดยแบบประเมินโรคซึมเศร้า(2Q)มีคำถาม 2 ระดับให้เลือก คือ มีและไม่มี ระดับคะแนนจาก ประเมินโรคซึมเศร้า 9คำถาม (9Q)โดยค่าคะแนนมีความหมายดังนี้ คะแนนน้อยกว่า 7 หมายถึง ไม่มีภาวะซึมเศร้า คะแนน 7-12 หมายถึง มีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อย คะแนน 13-18 หมายถึง มีอาการของโรคซึมเศร้าระดับปานกลาง คะแนน ≥19 หมายถึง มีอาการของโรคซึมเศร้าระดับรุนแรง การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพรรณนา คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุการศึกษา สถานภาพสมรสรายได้ สถานที่พักอาศัย บุคคลที่อาศัยร่วม ภูมิลำเนาเดิม การเล่นพนัน การใช้เวลาว่าง บุคลิกเฉพาะตัว สภาพการใช้จ่าย กรณีข้อมูลแจงนับใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) กรณีข้อมูลต่อเนื่องใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าสูงสุด (Maximum) และค่าต่ำสุด (Minimum) สถิติอนุมาน 1.ใช้สถิติSimple logistic regression เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างหยาบ (Crude Analysis) โดยวิเคราะห์ทีละคู่(Bivariate) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรต้นทีละคู่ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของตัวแปรอื่นๆ ผลที่ได้คือ Crude Odds และ P-value พิจารณาค่า P-value<0.25 เพื่อทำการคัดเลือกตัวแปรอิสระเข้าสู่โมเดลการวิเคราะห์คราวละหลายตัวแปร 2.ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Multiple Logistic Regression) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตจังหวัดขอนแก่นและตัวแปรอิสระ (Final Model) โดยวิเคราะห์คราวละหลายตัวแปร นำตัวแปรที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนการวิเคราะห์อย่างหยาบ (Crude analysis) เข้าสู่โมเดล Multivariate ในการวิเคราะห์ผลที่ได้คือ Adjusted Odds Ratioช่วงเชื่อมั่น 95%CI และ P-value 3.การวิเคราะห์หาโมเดลที่ดีที่สุด (The best model) ใช้วิธีการตัดตัวแปร ออกทีละตัวแปร (Backward elimination) โดยขจัดตัวแปรที่มีค่า P-value>0.05 ออกทีละตัวแปร จนกว่าจะไม่สามารถตัดตัวแปรใดๆออกจากโมเดลได้เนื่องจากไม่มีตัวแปรใดที่มีค่า P-value>0.05 ถือเป็นโมเดลสุดท้ายที่จะอธิบายตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของจังหวัดขอนแก่น จำนวน 407 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.06 มีอายุเฉลี่ย 62.38ปี (± 9.06) ปี มีสถานภาพสมรสร้อยละ 73.46 ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 79.60 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 32.68 มีมัธยฐานรายได้เท่ากับ 3,900 บาท (รายได้ต่ำสุด: สูงสุด เท่ากับ 0:17,000) ดังรายละเอียดที่แสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1แสดงจำนวนและร้อยละคุณลักษณะส่วนบุคคล ( n=407) ลักษณะทั่วไป จำนวน ร้อยละ 1. เพศ หญิง 277 68.06 ชาย 130 31.94 2. อายุ <50 ปี 37 9.09 50-59 ปี 103 25.31 60-69 ปี 184 45.21 ≥70 ปี 83 20.39 Mean (SD) 62.38 ( 9.06) Median (Min:Max) 62(40:86) 3. รายได้ <3,000 บาท 164 40.29 3,000 – 5,000 บาท 126 30.96 ≥5,000 บาท 117 28.75 Mean ( SD) 4,053.81 ( 3,000.55) Median (Min:Max) 3,900 (0:17,000) ตารางที่ 1แสดงจำนวนและร้อยละคุณลักษณะส่วนบุคคล(ต่อ) ลักษณะทั่วไป จำนวน ร้อยละ 4. สถานภาพสมรส สมรส 299 73.46 หม้าย 71 17.44 โสด 28 6.88 หย่า/ร้าง 9 2.21 5. วุฒิทางการศึกษา ไม่ได้เรียนหนังสือ 43 10.57 ประถมศึกษา 313 76.90 มัธยมศึกษาตอนต้น 36 8.85 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. 12 2.95 อนุปริญญา/ ปวส. 3 0.74 6. อาชีพปัจจุบัน เกษตรกรรม 133 32.68 ไม่ได้ประกอบอาชีพ 124 30.47 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 69 16.95 รับจ้าง 39 9.58 แม่บ้าน 30 7.37 อื่นๆ 12 2.95 ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q และได้ทำการประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q ซ้ำอีกครั้ง พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีภาวะซึมเศร้าระดับ จำนวน 77 ราย ร้อยละ 18.92 โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะซึมเศร้าจากการคัดกรอง 9Q นั้น ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าในระดับ แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าในระดับต่ำ ร้อยละ 12.77รองลงมาคือมีภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง และระดับรุนแรง ร้อยละ 5.8 และร้อยละ 0.24 ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามตามภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า จำนวน ร้อยละ ไม่มีภาวะซึมเศร้า (<7 คะแนน) 330 81.08 มีภาวะซึมเศร้า (≥ 7 คะแนน) 77 18.92 มีภาวะซึมเศร้าระดับต่ำ (7-12 คะแนน) 52 12.77 มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง 12-18 คะแนน) 24 5.8 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง( ≥ 19 คะแนน) 1 0.24 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์หลายตัวแปร (Multivariate) ใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอย พหุโลจิสติก (Multiple logistic regression) ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบขจัดออกทีละตัว (Backward elimination) พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีอยู่ 8 ปัจจัยได้แก่ปัจจัยอายุ โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 4.94 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่อายุน้อยกว่า 60 ปี (OR=4.94, 95% CI: 2.03-12.00) ปัจจัยอาชีพปัจจุบันโดยผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีอาชีพหรือเป็นแม่บ้าน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 2.49 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาชีพ (OR=2.49, 95% CI: 1.27-4.87) ปัจจัยปัญหาภาระหนี้สินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีปัญหาภาระหนี้สินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 3.75 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน (OR=3.75, 95% CI: 1.75-8.05) ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในระดับต่ำ มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 8.91 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในระดับสูง (OR=8.91, 95% CI: 4.23-18.77) ปัจจัยผลตรวจ HbA1C ครั้งล่าสุด โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับ HbA1C ได้ไม่ดี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 5.37 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับ HbA1C ได้ดี (OR=5.37, 95% CI: 1.18-24.39) ปัจจัยการได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่า โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในระดับต่ำ มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 12.27 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในระดับสูง (OR=12.27, 95% CI: 5.10-29.48)ปัจจัยด้านความเครียดวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีทัศนคติที่มีความเครียดวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวานในระดับมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 6.28 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเครียดวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวานในระดับน้อย (OR=6.28, 95% CI: 2.80-14.09)และปัจจัยการเล่นพนัน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่เล่นการพนัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 2.48 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่เล่นการพนัน (OR=2.48, 95% CI: 1.05-5.86) ดังรายละเอียดที่แสดงในตารางที่ 3 ตารางที่ 3ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร (Multivariate analysis) ปัจจัย จำนวน % ภาวะซึมเศร้า Crude OR Adjusted OR 95% CI P-value 1. อายุ <60 ปี 140 8.57 1 1 <0.001 ≥ 60 ปี 267 24.34 3.43 4.94 2.03-12.00 2. อาชีพปัจจุบัน มีงานทำ 253 12.25 1 1 0.069 ไม่มีอาชีพ/แม่บ้าน 154 29.87 3.05 2.49 1.27-4.87 3.ปัญหาภาระหนี้สินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่มีปัญหา 173 12.72 1 1 0.003 มีปัญหา 234 23.50 2.11 3.75 1.75-8.05 ตารางที่ 3ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร (Multivariate analysis) (ต่อ) ปัจจัย จำนวน % ภาวะซึมเศร้า Crude OR Adjusted OR 95% CI P-value 4. ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระดับสูง 255 8.63 1 1 <0.001 ระดับต่ำ (ปานกลาง/ต่ำ) 152 36.18 6.01 8.91 4.23-18.77 5. ระดับ HbA1C ครั้งล่าสุด ควบคุมดี (HbA1C < 7 %) 390 17.44 1 1 0.023 ควบคุมไม่ดี (HbA1C ≥ 7%) 17 52.94 5.32 5.37 1.18-24.39 6.การได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่า ระดับสูง 362 13.81 1 1 <0.001 ระดับต่ำ 45 60.00 9.36 12.27 5.10-29.48 7. ความเครียดวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวาน ระดับน้อย (ปานกลาง/ต่ำ) 347 14.99 1 1 <0.001 ระดับมาก 60 41.67 4.05 6.28 2.80-14.09 8. การเล่นพนัน ไม่เล่น 347 17.58 1 1 0.041 เล่น 60 26.67 1.70 2.48 1.05-5.86 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยแบบสัมภาษณ์ 9Q พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดภาวะซึมเศร้า จำนวน 77 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.92 โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 23.10 และเป็นกลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 65.70 อายุมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 4.94 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ปัญหาภาระหนี้สินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีปัญหาภาระหนี้สินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 3.75 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน โดยทั่วไปแล้วการมีภาระหนี้ ถือเป็นสิ่งเร้าทำให้เกิดความเครียด กดดันทั้งหนี้เนื่องจากมีแรงกดดันทั้งภาระหนี้และดอกเบี้ยจากหนี้ที่กู้ยืมมา หากบุคคลนั้นมีภาวะโรคร่วมด้วย โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่จำเป็นจะต้องมีการรับประทานยาเป็นจำนวนมากตามอาการ นอกจากนี้ยังต้องควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะส่งผลให้เกิดภาวะความเครียดกับผู้ป่วย ปัจจัยอาชีพปัจจุบันโดยผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีอาชีพหรือเป็นแม่บ้าน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 2.49 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาชีพ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า มีร้อยละ 37.84 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่มีอาชีพหรือเป็นแม่บ้าน ไม่มีรายได้ เนื่องจากส่วนหนึ่งอาจเป็นกลุ่มที่ไม่ได้เรียนหนังสือ โดยมีผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 10.57 ทำให้ไม่สามารถหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวและเกิดเป็นความเครียดและภาวะซึมเศร้า จนเกิดเป็นความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของครอบครัว ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในระดับต่ำ มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 8.91 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในระดับสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตัวดีกว่าผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานน้อยกว่า 7ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวานและการส่งเสริมในการมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะหากผู้ป่วยมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง รวมถึงญาติพี่น้องมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และมีการปฏิบัติอย่างจริงจังจะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความสบายใจ มีกำลังใจในการรักษาตนเอง และยังสามารถลด ความเครียด และความวิตกกังวลที่มีต่อโรคเบาหวานได้อีกทางหนึ่งด้วย 8 ผลตรวจ Hb1C ครั้งล่าสุดโดยผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับ HbA1C ได้ไม่ดี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 5.37 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับ HbA1C ได้ดีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานนั้นสิ่งตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินผลการรักษาและพฤติกรรมการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย โดยจะให้ความสำคัญกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด หรือค่า HbA1C ซึ่งเป็นตัวสะท้อนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานได้เป็นอย่างดี หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย และอาจจะมีภาวะโรคแทรกซ้อนที่จะทำให้การรักษายุ่งยาก และทำให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะกดดัน จากผู้ให้บริการ จากการปรับยารับประทานที่ต้องมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียด สุขภาพร่างกายแย่ลง ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าไม่อยากอยู่หรือเป็นภาระต่อครอบครัว การได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่า โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในระดับต่ำ มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า12.27 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในระดับสูง)ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าต้องเผชิญเหตุการณ์ในชีวิตที่ไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขได้ด้วยตัวเอง กดดันจากปัญหาเหตุการณ์ต่างๆทำให้สูญเสียความภาคภูมิใจและคุณค่าในตัวเองหากขาดแรงสนับสนุนจากครอบครัวจะทำให้มองโลกในแง่ลบและส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ความเครียดวิตกของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่มีทัศนคติที่มีความเครียดวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวานในระดับมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 6.28 เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเครียดวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีต่อโรคเบาหวานในระดับน้อย จะสังเกตได้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมักมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการป่วยของตนเอง ทั้งจากอาการจากการเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเจ็บป่วย ปัจจัยการเล่นพนัน โดยผู้ป่วยเบาหวานที่เล่นการพนัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 2.48เท่าของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่เล่นการพนัน จากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นพนัน พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติและแรงจูงใจในการเล่นพนัน คือ การคิดว่าเป็นช่องทางการหาเงินหรือรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีเหตุจากการเสียการพนันไปแล้วต้องการอยากได้เงินคืนเลิกไม่ได้ จึงทำให้เกิดภาระหนี้สิ้นท่วมตัว อันส่งผลทำให้เกิดปัญหาทั้งสุขภาพและสัมพันธภาพของครอบครัวตามมา เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย และการทะเลาะวิวาทในครอบครัว ข้อเสนอแนะ 1.ควรมีการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครสำหรับดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือจัดกลุ่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้มีการพบปะพูดคุย อันนำไปสู่การยอมรับในสังคมซึ่งจะลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า 2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสมาชิกในครอบครัวต้องให้ความใส่ใจ ให้กำลังใจ และสร้างคุณค่าให้กับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นภาระของครอบครัว โดยการสร้างอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้ จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีงานทำ ไม่ไปหมกมุ่นกับการพนัน สามารถช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายหรือหนี้สินของครอบครัวได้จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวดี เพราะมีการพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำร่วมแก้ปัญหา สมาชิกทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันภาวะความเครียดวิตกกังวลที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะซึมเศร้าและอาจจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายต่อไป 3.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรมีการให้สุขศึกษาหรือสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับสถานะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานอย่างถูกต้อง ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างถูกต้องต่อเนื่อง รวมทั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลังอย่างเหมาะสม จนเป็นความเคยชิน จนนำไปสู่พฤติกรรมการที่ฝั่งรากลึก เป็นกิจวัตรหรือวิถีการดำเนินกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยเบาหวาน 4.มีการเสริมสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง และมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง จะสามารถช่วยลดปัญหาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนเป็นหลักในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 5.ควรมีการบูรณาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งทางกาย จิต และวิญญาณ โดยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบ หรือแนวทางในการดูแล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นการสร้างคุณค่าให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกทางหนึ่งด้วย 6.กำหนดแนวทางในการให้บริการตรวจ HbA1Cสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ทุก3 เดือนเพื่อเป็นการประเมินผลการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในระยะยาวเป็นต่อไป เอกสารอ้างอิง 1.สุนิตย์ จันทรประเสริฐ.การจัดการองค์กรการให้ความรู้โรคเบาหวาน.ในสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน.โครงการ อบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานหลักสูตรพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: กราฟฟิค 1 แอดเวอร์ไทซิ่ง; 2551; 9-15. 2.สุชาติ พหลภาคย์. เทคนิคในการทำให้จิตใจของผู้ป่วยที่เคยได้รับความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจมั่นคงขึ้น. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา;2552;35-38. 3.กรมสุขภาพจิต.แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550- 2554).กรุงเทพฯ: ละม่อม;2552. 4.Anderson, B.J. Families and chronic illness research: Targeting transitions and tools, commentary onTrief et al. (2006). Families, Systems, & Health, 24(3); 2006; 332–335. 5.Van den Akker, M., Schuurman, A.,Metsemakers, J., &Buntinx, F. Is depression related to subsequent diabetes mellitus? ActaPsychiatricaScandinavica, 110(3); 2004; 178–183. 6.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี2559 จังหวัดขอนแก่น: ผลการวิจัย ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น;2559. 7.ธีระ ภักดิ์จรุง. การใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนของครอบครัวในการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนช่องสามหมออำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพบัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548. 8.อารมณ์ อร่ามเมือง. ผลของการสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมแก่ผู้ดูแลในการดูแล ผู้สูงอายุเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยมหิดล;2551.  
     คำสำคัญ ภาวะซึมเศร้า,ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 
ผู้เขียน
585110046-1 นาง จิตรา ธำรงชัยชนะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0