2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ : การวิเคราะห์องค์ประกอบ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 มกราคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "กรศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประจำปี 2560" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 359-366 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครู จำนวน 2,325 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ “ มาก ” 2) องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ได้แก่ 1) ทีมการเปลี่ยนแปลง 2) วิสัยทัศน์กว้างไกล 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) การจัดการความรู้ 5)ความกล้าเสี่ยง โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบ และมีค่าอยู่ระหว่าง 0.906 ถึง 0.973 เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดการความรู้ ความกล้าเสี่ยง วิสัยทัศน์กว้างไกล ความคิดสร้างสรรค์และทีมการเปลี่ยนแปลง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.973 0.959 0.956 0.932 และ0.906 ตามลำดับ และแต่ละองค์ประกอบมีค่าความเที่ยงในการวัดน้ำหนักองค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 0.946 0.920 0.913 0.868 และ0.821 ตามลำดับ 
ผู้เขียน
585050142-8 น.ส. ขนิษฐา แก่นจำปา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0