2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 The Performance of Public Health Officers Under Hospital Standards for Quality Tuberculosis Care at Community Hospitals in Health Region 7  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 กรกฎาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 24 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรคและคุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในคลินิก วัณโรคของโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 144 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2560 ถึง 10 พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และใช้สถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยทางการบริหาร และระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D. = 0.58) และ 4.20 คะแนน (S.D. = 0.43) ตามลำดับ ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.593, p-value < 0.001) ปัจจัยทางการบริหารด้านการใช้เวลา ด้านบุคลากร และด้านวัสดุอุปกรณ์ สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ได้ร้อยละ 41.9 (R2 = 0.419, p-value < 0.001 )จากงานวิจัยนี้ ควรมีการจัดลำดับความสำคัญและติดตามกิจกรรมในแผนงานโครงการ เพื่อบรรลุผลตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการจัดสรรจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาระงาน รวมทั้งสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรค จะทำให้การดำเนินงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพด้านการดูแลรักษาวัณโรค ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานต่อไป คำสำคัญ: ปัจจัยการบริหาร การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพการดูแลรักษาวัณโรค Abstract This cross sectional descriptive research aimed to study the performance of public health officers under hospital standards for quality tuberculosis care at community hospitals in public health region 7. The population were 144 personnel from TB clinic in public health region 7, 112 personnel selected by simple random sampling and 12 personnel participated in focus group discussion for qualitative data . The instruments was questionare examined and verified by three experts for content validity and tested for reliability with Cronbach, alpha coefficient 0.97. Data were collected between April 10th, 2017 and May 10th, 2017. The data were analyzed by descriptive statistics and Inferential statistics by Pearson, product moment correlation and multiple linear regressions. The level of statistical significant was set at 0.05. The results showed that administrative and performance factors level of public health officers under hospital standards for quality tuberculosis care at community hospitals in public health region 7 were found at high level with averages of 3.84 (S.D. = 0.58) , 4.20 (S.D. = 0.43) respectively. The administrative factors were statistical significantly correlated with the performance of public health officers under hospital standards for quality tuberculosis care at community hospital in health region 7 (r = 0.593, p-value < 0.001). The factors were time, Man and Material. These three factors could together predict performance of public health officers under hospital standards for quality tuberculosis care at community hospitals in health region 7 by 41.9 % (R2 = 0.419, p-value < 0.001 ). The Activities should be prioritized and monitoring in timeframe. The personnel should be properly allocated associated with mission of TB Control Program. Sufficient and proper logistics support are important in work process. These factor effect to the achievement of Quality Tuberculosis Care at Community Hospitals in Health Region 7. Keywords: Administrative factors, The performance of public health officers, hospital standards for quality tuberculosis care. 
     คำสำคัญ คำสำคัญ: ปัจจัยการบริหาร การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพการดูแลรักษาวัณโรค 
ผู้เขียน
585110040-3 นาง สุพัตรา สิมมาทัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0