2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประจำปี 2560 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่) Proceeding online ฉบับสมบูรณ์เดือนสิงหาคม 2560  
     หน้าที่พิมพ์ 251-259 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครู และเพื่อศึกษาแนวทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ประชากร ได้แก่ ครู 2,245 คน กลุ่มตัวอย่าง 331 คน ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธี PNIModified ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยวิธีบรรยายและสรุปเขียนเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิจัยความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครู โดยภาพรวมพบว่า ด้านที่มีค่า PNIModified สูงสุด ลำดับที่ 1 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเป็นคู่มือในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของครู ลำดับที่ 3 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน และลำดับที่ 4 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการประมวลผล สร้างองค์ความรู้ และการนำเสนอ 2) ผลการศึกษาแนวทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครู ควรมีการดำเนินงานในเรื่องต่อไปนี้ 2.1) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเป็นคู่มือในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ พบว่า ควรส่งเสริมให้ครูจัดชั้นเรียนให้มีคุณภาพ สะอาด น่าอยู่ มีระเบียบ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลได้ และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 2.2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของครู พบว่า จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนสอน ผลิตนวัตกรรม ให้ความรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบันให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 2.3) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะด้านคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน พบว่า ควรส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนสอนเน้นการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดแทรกกับทุกสาระการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และ 2.4) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการประมวลผล สร้างองค์ความรู้ และการนำเสนอ พบว่า ควรจัดกิจกรรมแข่งขันทักษะด้านคอมพิวเตอร์มีการสร้างผลงาน นำเสนอผลงานของตนเอง คำสำคัญ : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการชั้นเรียน, การจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 ABSTRACT This research aimed to assess need in information technology utilization for classroom management in the 21st century for teachers and to study using the guideline for information technology utilization for classroom management in the 21st century for teachers under the Office of Chaiyaphum Primary Education Service Area 2. The population was 2,245 teachers, the sample group was 331 people. The research process divided into 2 phases, the first phase was quantitative data collection that used questionnaires as data collection method. Data was analyzed by PNImodified method with statistic value, frequency, percentage, mean, standard deviation and priority of demand arrangement. The second phase was qualitative data collection that used interviewing as data collection. Data analyzed by content analysis with describing and article summarizing according to the research purposes. The research result found that. 1) The overview result of research on demand assessment in information technology utilization for classroom management in the 21st century for teachers found that the category that had the highest PNImodified score was category of using information technology as the guide for information searching. The second category was information technology using for teacher’s teaching and learning media creating and development. The third category was information technology for student’s computer skills learning and practicing. The forth category was using information technology as a tool for data processing, knowledge creating and presentation. 2) The result of research for using guideline of information technology utilization for classroom management in the 21st century for teachers should prepare 2.1) about the using information technology as the guideline for information searching found that teachers should prepare the quality, clean, pleasant, systematically, usable, and available information technology tools. 2.2) about the information technology using for teacher’s teaching and learning media creating and development found that it was necessary to provide workshops on teacher’s development in using technology for teaching, producing innovation, workshops for the students’understanding on information technology and ethics on information technology using. 2.3) about the information technology for student’s computer skills learning and practicing found that teachers should be encouraged to conduct learning activities that focusing on appropriate technology media which integrated all content. 2.4) about using information technology as a tool for data processing, knowledge creating and presentation found that computer skills competition, work conduction and presentation should be arranged. Keywords : information technology utilization, information technology utilization for classroom management, classroom management in the 21st century  
ผู้เขียน
585050169-8 น.ส. สโรชา กาวี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0