2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์อ้อยดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 มีนาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วาสารเกษตรพระวรุณ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN article 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 30-40 
     บทคัดย่อ ในปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยที่ใช้ในระบบการผลิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่จำนวนน้อย หากเกิดโรคระบาดใหม่ๆ หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ดังนั้น จำเป็นต้องมีพันธุ์อ้อยดีเด่นที่ปรับตัวได้ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตอ้อยและลักษณะทางการเกษตรของอ้อยพันธุ์ดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ใช้พันธุ์อ้อยจำนวน 17 พันธุ์ ได้แก่ KKU99-01, KKU99-02, KKU99-03, KKU99-06, KK06-419, KK06-501, CSB07-79, CSB07-219, UT84-12, UT84-13, MPT02-187, MPT02-458, TBy28-1211, TBy28-0941 และ Kps01-12 โดยมีพันธุ์ KK3 และ K88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ปลูกทดสอบอ้อย 2 สถานที่ ได้แก่ ที่ จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น เมื่ออ้อยอายุ 12 เดือนหลังปลูก ตรวจวัดข้อมูลลักษณะผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ำตาล องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ จำนวนลำต่อไร่และน้ำหนักลำ และลักษณะทางการเกษตร ได้แก่ ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น จำนวนปล้อง จำนวนใบสดและใบแห้ง พบว่า พันธุ์อ้อยที่มีความเหมาะสมและสามารถปรับตัวได้ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ Kps01-12 (19.86 ตัน/ไร่ และ 2.49 ตัน ซี.ซี.เอส./ไร่) และ KKU99-03 (19.18 ตัน/ไร่ และ 1.86 ตัน ซี.ซี.เอส./ไร่) เนื่องจากมีผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ำตาลสูงไม่แตกต่างจากพันธุ์เปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม พันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมกับชนิดดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินแตกต่างกัน ในการทดสอบครั้งนี้พบว่าพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในเขตดินทราย ได้แก่ Kps01-12, MPT02-187, KKU99-02 และ KKU99-03 และพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในเขตดินทรายปนร่วน ได้แก่ TBy28-0941 นอกจากนี้ ลักษณะทางการเกษตรและองค์ประกอบผลผลิต เช่น ความยาวลำ น้ำหนักลำและจำนวนลำต่อไร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลผลิตอ้อย ดังนั้น ลักษณะเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมให้อ้อยมีผลผลิตที่ดีในสภาพอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     คำสำคัญ ผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ำตาล จำนวนลำต่อไร่ น้ำหนักลำ ขนาดลำต้น 
ผู้เขียน
575030016-4 น.ส. จุฑามาศ เครื่องพาที [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0