2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลางที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมดุลเคมี และเจตคติต่อ วิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 
Date of Distribution 21 July 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมสัมมนาวิชาการน าเสนอผลงานวิจัยเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 "บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน" 
     Organiser บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 
     Conference Place ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  
     Province/State จังหวัดพิษณุโลก 
     Conference Date 21 July 2017 
     To 21 July 2017 
Proceeding Paper
     Volume 2017 
     Issue
     Page 345-346 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การจัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลาง เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจในการนำมาสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน โดยผ่านการสร้างแบบจำลอง เพื่อเรียนรู้มโนมติวิทยาศาสตร์หรือมโนมติเคมี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมดุลเคมี และเพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลาง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในรายวิชาเคมีเพิ่มเติม 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนคอนสารวิทยาคม จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง (Pre-experimental Research) แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมดุลเคมี ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลาง จำนวน 5 แผน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมดุลเคมี ซึ่งวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบการอธิบาย การระบุสิ่งที่เป็นนามธรรม และการระบุคำสำคัญ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมี วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยอันดับของความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test และนำข้อมูลจากแบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมีก่อนและหลังเรียนนำมาหาเฉลี่ย และแปลความหมายของระดับเจตคติต่อวิชาเคมีตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลาง พัฒนาขึ้นเป็นระดับปานกลางและระดับสูง และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอันดับความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนมีเจตคติต่อวิชาเคมีอยู่ในระดับดี หลังจากที่ได้เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นแบบจำลองเป็นศูนย์กลาง ช่วยพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ 
Author
585050108-8 Miss THITIMA KANCHAIYAPHUM [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลดีเด่น การนำเสนอผลงานวิจัย (ภาคโปรเตอร์) กลุ่มการศึกษา กลุ่ม 7 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 
     Date of awarding 21 กรกฎาคม 2560 
Attach file
Citation 0