2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น(7E) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการน าเสนอผลงานวิจัยเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 "บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 
     สถานที่จัดประชุม ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดพิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2017 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 301-302 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง (Pre-Experimental Research) รูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดผลหลังเรียน (One Shot Case Study) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 40 คน ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้า โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) จำนวน 8 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องไฟฟ้า โดยวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3 ด้าน ตามแนวคิดของ Bloom (1956) เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้า เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ แล้วเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่า มีนักเรียนที่ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็มจำนวน 30 คนจากนักเรียนทั้งหมด 40 คนคิดเป็นร้อยละ 75 ซึ้งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในส่วนคะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยได้ 17.15 คิดเป็นร้อยละ 57.17 สาเหตุที่ไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากมีนักเรียนส่วนหนึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คือ ความบกพร่องทางด้านการอ่าน อ่านไม่ได้ใจความหรืออ่านไม่ออกและความบกพร่องทางการคิด ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ได้หรือไม่เข้าใจในโจทย์ปัญหา ส่งผลให้คะแนนความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ โดยรวมนักเรียนส่วนใหญ่เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น นักเรียนมีพัฒนาการทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 พบว่า มีนักเรียนที่ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไปของคะแนนเต็มจำนวน 31 คนจากนักเรียนทั้งหมด 40 คนคิดเป็นร้อยละ 77.5 ซึ้งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยได้ 18.57 คิดเป็นร้อยละ 61.76 สาเหตุที่ไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากมีนักเรียนส่วนหนึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คือ ความบกพร่องทางด้านการอ่าน อ่านไม่ได้ใจความหรืออ่านไม่ออกและความบกพร่องทางการคิด ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ได้หรือไม่เข้าใจในโจทย์ปัญหา ส่งผลให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ โดยรวมนักเรียนส่วนใหญ่เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
ผู้เขียน
585050105-4 น.ส. ชลธิชา พลชัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0