2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย 
Date of Acceptance 8 August 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1906-1137 
     Volume 10 
     Issue
     Month กรกฏาคม - กันยายน
     Year of Publication 2017 
     Page  
     Abstract ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย เพชรสมร ไพรพยอม1 ดร.ประจักร บัวผัน2 1 ผู้รับผิดชอบบทความ : นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Email : pripayom04857@gmail.com) 2 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 74 คน และการสนทนากลุ่มจากบุคคลที่ให้ข้อมูลในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบล จำนวน 12 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.95 โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2560 ถึงวันที่ 23 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับแรงจูงใจ ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ และระดับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.48), 3.99 (S.D.=0.49) และ 4.05 (S.D.=0.51) ตามลำดับ และพบว่าภาพรวมของแรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.824, p-value < 0.001) , (r = 0.705, p-value < 0.001), (r = 0.815, p-value< 0.001) และ (r = 0.781, p-value < 0.001) ตามลำดับ ตัวแปรการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการ ปัจจัยจูงใจด้านนโยบายและการบริหาร ตัวแปรผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุน และปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงาน ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบล ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย ได้ร้อยละ 83.4 ปัญหาอุปสรรคพบว่า กระบวนการของระบบบริการสุขภาพระดับตำบล ยังขาดความต่อเนื่องและขาดการคืนข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลแม่ข่าย ควรมีการเสริมพลังชุมชนในการมีส่วนร่วมดำเนินการพัฒนาต่อไป คำสำคัญ : แรงจูงใจ ,ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ,ระบบบริการสุขภาพระดับตำบล ,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล  
     Keyword แรงจูงใจ , ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ,การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับตำบล ,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 
Author
585110033-0 Mrs. PHETSAMORN PRIPAYOM [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0