2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แผงเปลือกอาคารจากพืชผักไฮโดรโปนิกส์ทางตั้ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 16 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom of the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต" ประจำปี 2560 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม เครือข่ายคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 สถาบัน 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มิถุนายน 2560 
     ถึง 16 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 19 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและประยุกต์ใช้วิธีการปลูกพืชผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเป็นระบบการปลูกพืชที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมากขึ้น ประกอบเป็นแผงเปลือกอาคารเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกพืชผักในพื้นที่อยู่อาศัยที่มีขนาดจำกัดในอาคารสูงของพื้นที่เมือง และยังทำหน้าที่เป็นแผงกันแดดให้อาคารอีกด้วย การศึกษาเลือกใช้ระบบการปลูกไฮโดรโปนิกส์เพื่อตอบสนองต่อข้อจำกัดของพื้นที่ดังกล่าว ผู้วิจัยทำการคัดเลือกพืชผักจาก 3 พันธุ์ ได้แก่ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค และกรีนคอส โดยใช้ค่าเฉลี่ยลักษณะทางกายภาพของพืชผักแต่ละพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปัจจัยในการศึกษาประสิทธิภาพในการกันความร้อนเข้าสู่อาคารเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ความกว้างทรงพุ่ม จำนวนใบ และความสูง ผลการศึกษาพบว่ากรีนคอสมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นทำการศึกษาและสร้างแผงเปลือกอาคารจากพืชผักไฮโดรโปนิกส์ทางตั้ง 2 รูปแบบ ได้แก่ ท่อปลูกแนวนอน และท่อปลูกแนวตั้ง พบว่าการติดตั้งแผงเปลือกอาคารจากพืชผักไฮโดรโปนิกส์ทางตั้งมีความเป็นไปได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชผักในพื้นที่อยู่อาศัยที่มีขนาดจำกัดในอาคารสูงของพื้นที่เมือง และทำการทดสอบประสิทธิภาพในการกันความร้อนโดยการสร้างแผงเปลือกอาคารเปรียบเทียบ 2 รูปแบบ ได้แก่ แผงเปลือกอาคารจากไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนท์ และรูปแบบไม่มีแผงเปลือกอาคาร โดยใช้กล่องทดลองติดตั้งเครื่องมือวัดอุณหภูมิภายในกล่องในการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า แผงเปลือกอาคารจากพืชผักไฮโดรโปนิกส์ทางตั้งทั้ง 2 รูปแบบ มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนในช่วงเวลากลางวันดีกว่าแผงเปลือกอาคารเปรียบเทียบอีก 2 รูปแบบ โดยแผงเปลือกอาคารจากพืชผักไฮโดรโปนิกส์ทางตั้งทั้ง ท่อปลูกแนวตั้ง มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนดีที่สุด แต่ทั้งนี้แผงจากพืชผักไฮโดรโปนิกส์ทางตั้งทำให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสะสมออกในเวลากลางคืนช้าลงเล็กน้อย 
ผู้เขียน
575200011-8 นาย อัตถสิทธิ์ ชื่นใจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0