2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 
     สถานที่จัดประชุม ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2017 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 336-337 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโนนหันวิทยายน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน จำนวน 8 แผน ใช้เวลาสอนจำนวน 12 คาบ แบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนอยู่ในระดับต่ำ และหลังจากเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน นักเรียนส่วนใหญ่พัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง และผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยอันดับความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอันดับความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D. = 0.19)  
ผู้เขียน
585050107-0 น.ส. โชติภรณ์ ลีเวียง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0