2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประจำปี 2560  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560  
     Issue (เล่มที่) Proceeding online ฉบับสมบูรณ์เดือนสิงหาคม 2560  
     หน้าที่พิมพ์ 268-277 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2 ) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 1,687 คน กลุ่มตัวอย่าง 313 คน แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บ โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธีPNI Modifiedการเก็บข้อมูลระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยวิธีบรรยายและสรุปเขียนเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิจัยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมพบว่า มีค่า PNI Modified อยู่ระหว่าง 0.132 ถึง 0.475 ด้านที่มีค่า PNI Modifiedสูงสุดลำดับที่ 1 คือด้านการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ลำดับที่ 2 คือ ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูขณะปฏิบัติงาน ลำดับที่ 3 คือด้านการสร้างแรงจูงใจขณะปฏิบัติงาน ลำดับที่ 4 คือ ด้านความรับผิดชอบต่อคุณภาพผู้เรียน ลำดับที่ 5 คือ ด้านการทำงานเป็นทีมแบบรวมพลัง ลำดับที่ 6 คือ ด้านการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูอย่างต่อเนื่องและลำดับที่ 7 คือด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) ผลการศึกษา แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา 2.1) ด้านการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ผู้บริหารและครูควรมีการทำข้อตกลง (MOU) กำหนดค่าเป้าหมายเรื่องผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนร่วมกัน ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบและเรียนรู้กระบวนการในการแก้ปัญหา และผู้บริหารควรมีการกำกับและติดตามผลการจัดเรียนเรียนรู้ของครูผู้สอนอย่างเป็นระบบ 2.2) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูขณะปฏิบัติงาน พบว่า สถานศึกษาควรจัดแหล่งเรียนรู้ต่างๆในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอครูผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองได้ดียิ่งขึ้นและ ครูจับคู่การนิเทศการสอนเพื่อสะท้อนผลการจัดการเรียนที่สอนที่ดียิ่งขึ้นไป 2.3) ด้านการสร้างแรงจูงใจขณะปฏิบัติงาน พบว่า ผู้บริหารควรใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานและสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูผู้สอนในสถานศึกษา และ ควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนแสดงความสามารถที่ตนเองถนัดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 
ผู้เขียน
585050143-6 น.ส. เขมิกา พันธุ์อำมาตย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0