2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินความต้องการจำเป็นการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 10 สิงหาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประจำปี 2560" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่) Proceeding online ฉบับสำบูรณ์เดือนสิงหาคม 2560 
     หน้าที่พิมพ์ 278-290 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 2) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานในสถานศึกษาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 ประชากร คือ ผู้บริหารและครู 2,788 คน กลุ่มตัวอย่าง 451 คน แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธี Modified Priority Need Index : PNI Modified ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิจัย ความต้องการจำเป็นของการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่า มีค่า PNI Modified อยู่ระหว่าง 0.281 ถึง 0.305 ด้านที่มีค่า PNI Modified สูงสุด ลำดับที่ 1 คือ ด้านทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ลำดับที่ 3 คือ ด้านโครงสร้างสนับสนุน ลำดับที่ 4 คือ ด้านการส่งเสริมและการเป็นผู้นำร่วม 2) ผลการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ควรมีการดำเนินงานในเรื่องต่อไปนี้ 2.1) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม พบว่า ควรจัดประชุมวิเคราะห์ปัญหาด้วยกระบวนการ SWOT Analysis เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2.2) ด้านการส่งเสริมและการเป็นผู้นำร่วม พบว่า ควรมีการเลือกสรรครูที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อเป็นผู้นำในการสอนงานแก่เพื่อนครูเพื่อให้เกิดชุมชนในการเรียนรู่ร่วมกัน 2.3) ด้านทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ พบว่า ควรจัดเวทีให้ครูได้นำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู และ 2.4) ด้านโครงสร้างสนับสนุน พบว่า ควรส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  
ผู้เขียน
585050141-0 นาย เกียรติ์นิพนธ์ สุริยนต์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0