2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด 
Date of Acceptance 8 August 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สสจ.กาฬสินธุ์ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     Volume 11 
     Issue
     Month พฤษภาคม-สิงหาคม
     Year of Publication 2018 
     Page  
     Abstract การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 154 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient และStepwise Multiple Linear Regression Analysis โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 จากการศึกษา พบว่า ระดับปัจจัยการบริหารภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.51 (S.D. = 0.83) และระดับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.49 (S.D. = 0.68)และ ภาพรวมของปัจจัยการบริหาร มีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกกับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.695, p-value = <0.001) ปัจจัยการบริหารด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านเวลา ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคคลากร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 54.20 (R2= 0.542, P-value < 0.001) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อย่างเพียงพอ และควรมีการจัดอบรมเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ เพื่อเสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด  
     Keyword การปฏิบัติงานระบาดวิทยา, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
Author
585110031-4 Miss NAMTIP SRINONGKIT [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0