2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียน การสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2561
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน 2) ระดับปัจจัยของโรงเรียนและห้องเรียนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครู 3) ผลของปัจจัยระดับโรงเรียนและห้องเรียนที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างระดับโรงเรียน (Macro Level) คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 68 คน และกลุ่มตัวอย่างระดับห้องเรียน (Micro Level) คือ ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการสอน จำนวน 445 คน รวมทั้งสิ้น 513 คน โดยที่ Hair, et al (2010) ระบุว่า ควรกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 20:1 กล่าวคือ จำนวนตัวกลุ่มอย่างควรมีประมาณ 20 คน ต่อตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ สำหรับระดับโรงเรียน 1 ฉบับและระดับห้องเรียน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติเชิงบรรยาย และวิธีวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่นเพื่อหาค่าสถิติเชิงอ้างอิง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครูและด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับน้อย 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูระดับโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการและด้านวัฒนธรรมโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านบรรยากาศโรงเรียน อยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูระดับห้องเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน ด้านพฤติกรรมการสอนของครู และด้านการได้รับการสนับสนุนของครูทางสังคม 3) ไม่มีปัจจัยระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ปัจจัยระดับโรงเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูได้ร้อยละ 37.50 ส่วนปัจจัยระดับห้องเรียน ที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนของครู ทางสังคม (β = 0.333, t = 11.770, Sig.< 0.001) พฤติกรรมการสอนของครู (β = 0.113, t = 3.234, Sig.= 0.001) และบรรยากาศการเรียนการสอน (β = 0.171, t = 5.064, Sig.< 0.001) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนได้ร้อยละ 52.62  
     คำสำคัญ ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอน, การวิเคราะห์พหุระดับ, วิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น 
ผู้เขียน
585050177-9 นาย เอกชัย อุทรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0