2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาความสามารถบุคลากรสุขภาพในการใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น : กรณีศึกษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารโรงพยาบาลสกลนคร  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 
     ISBN/ISSN 0859-7251 
     ปีที่ 21 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อพัฒนาความสามารถบุคลากรสุขภาพในการใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสุขภาพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 15 คน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการสมัครใจ เครื่องมือในการศึกษา เป็นเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว ทดสอบความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha ได้เท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน 2559 การพัฒนาความสามารถของบุคลากรสุขภาพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ โดยขออนุญาต จัดทำคู่มือ แผนการสอน และผลิตวีดิทัศน์การ์ตูนเคลื่อนไหว 2) ขั้นดำเนินการ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 1 วัน ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปใช้ประเมินสุขภาพครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบคนละ 2 ครอบครัว ภายใน 4 สัปดาห์ 3) ขั้นสรุปผล โดยการประชุมกลุ่มสรุปผลการใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ประเมินผลเชิงบรรยายโดยการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 73.30) เป็นพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 60) มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 10 ปี (ร้อยละ 60) ภายหลังการอบรมและใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับความสามารถในการใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า หลังอบรมมีคะแนนเฉลี่ย (x ̅=4.16, S.D.=0.65) สูงกว่าก่อนอบรม รายด้านพบว่าด้านโครงสร้างหรือสถานะในครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม (x ̅ =4.39, S.D.=0.77) สูงกว่าก่อนการอบรมมากที่สุด ซึ่งเท่ากับด้านการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม (x ̅=4.46, S.D.=0.78) สูงกว่าก่อนการอบรม ด้านตัวแทนครอบครัวผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจต่อการประเมินสุขภาพครอบครัวโดยบุคลากรสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 93.33) ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ควรมีการพัฒนาความสามารถของพยาบาลวิชาชีพและบุคลากรสุขภาพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกวิชาชีพในการประเมินสุขภาพครอบครัว ให้ได้ข้อมูลปัญหาและความต้องการของครอบครัวที่ครอบคลุม เพื่อการวางแผนในการให้การดูแลสุขภาพครอบครัวต่อไป 
     คำสำคัญ การพัฒนาความสามารถ, บุคลากรสุขภาพ, แบบประเมินสุขภาพครอบครัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
ผู้เขียน
565060065-2 นาย ทนงศักดิ์ มุลจันดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0