2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การนำเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557 ไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาล : กรณีศึกษา จังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 มีนาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน (Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, IJPS) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,คณะเภสัชมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 1905-0852 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่ พิเศษ 
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 441-455 
     บทคัดย่อ บทนำ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการและปัญหาอุปสรรคในการนำเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557 ไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาล วิธีการดำเนินการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง คือ เภสัชกรโรงพยาบาล ตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดโรงพยาบาล จำนวน 17 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ผลการศึกษา: ด้านวิธีการปฏิบัติ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ (16 แห่ง) มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ นี้ มีเพียง 1 โรงพยาบาลเท่านั้น ที่ไม่ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ โดยมีเหตุผลว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ อยู่แล้ว ด้านการติดตาม ควบคุมและกำกับผ่านคณะกรรมการ เภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล พบว่า มีระบบการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา กำหนดการสั่งใช้ยาด้วยชื่อสามัญทางยา และนโยบายที่คำนึงถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่าและความปลอดภัยของผู้ป่วย แต่ไม่มีการจัดทำรายงานการรับสิ่งสนับสนุนและเปิดเผยผลการคัดเลือกบุคลากรที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทยาผ่านระบบกำกับโรงพยาบาล ปัญหาอุปสรรคการนำแนวทางไปปฏิบัติ คือ ความเข้มแข็งของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับบริษัทยา งบประมาณของโรงพยาบาล และจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ แต่ยังขาดการติดตาม ควบคุมและกำกับให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ประกาศไว้ จึงควรจัดให้มีระบบตรวจสอบ กำกับตามแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ อีกทั้งควรส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติฯ นี้ เพื่อเป็นต้นแบบขององค์กร และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกร่วมด้วย  
     คำสำคัญ เกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยา, คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด 
ผู้เขียน
575150049-0 น.ส. พิชญา อุดมศิลป์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0